Author Archive
ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
by admin on ธ.ค..05, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ more...อบรมเทคนิคการสอนการใช้สีน้ำโดย อาจารย์
by admin on พ.ย..29, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน อบรมเทคนิคการสอนการใช้สีน้ำโดย อาจารย์ more...ประวัติศาสตร์มีไว้ให้ศึกษา แต่ทำไมต้องซ้ำรอยเสมอ
by admin on พ.ย..06, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
เมื่อคนมีอำนาจหลงระเริงคิดอยากจะทำอะไรก็ได้กับประเทศนี้โดยใช้อำนาจที่ได้มา จนบางครั้งหลงคิดไปว่าคนทั้งประเทศต้องเห็นตามเสมอ เมื่อถึงจุดนั้นก็จะได้เห็นพลังของประชาชนที่ต้องการความถูกต้อง ประชาธิปไตยสอนให้ฟังเสียงคนข้างมากก็จริงแต่ไม่ได้บอกว่าให้ละทิ้งเสียงข้างน้อย เพราะคนเสียงข้างน้อยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเมืองด้วยเหมือนกัน เศษ 1 ส่วน 10 กับ เศษ 10 ล้าน ส่วน 100ล้าน เท่ากันไหมตามหลักคณิตศาสตร์มันเท่ากัน แต่ถ้าเป็นจำนวนคนละมันมากมายมหาศาลจริงๆ หูตาสว่างกันสักทีเถอะเค้ากำลังนำพาประเทศไทยถอยหลังเข้าคลองปิดหูปิดตาบิดเบือนสื่อเสนอแต่ความดีที่ซ่อนความชั่วไว้มากมาย อีกไม่นานคงกลายเป็นประเทศที่ป่าเถื่อนปกครองด้วยกำลัง อำนาจมากกว่าความรู้ ความสามารถ แล้วลูกหลานเราจะเป็นอย่างไงในอนาคต คนจนต้องเป็นทาสคนรวย(ทาสเงินตรา) คนรวย มีอำนาจ ทำอะไรก็ไม่ผิด นี้ยิ่งกว่าการปกครองอีกระบบซะอีก ประวัติศาสตร์สอนเราอยู่แล้วมีตัวอย่างให้ดูเหมือนประเทศเพื่อนบ้านเมื่อ 10-30 ปีก่อน ว่าการปกครองด้วยคนที่บ้าอำนาจ ประชาชนจะเป็นอย่างไง ทุกวันนี้ และแม้กระทั่งประเทศไทยเองก็มีตัวอย่างให้ดูอยู่แล้วเมื่อในอดีตผู้นำประเทศต้องการแต่สิ่งที่ตัวเองต้องการโดยไม่ฟังเสียงประชาชน บ้านเมืองมันถึงต้องวุ่นวาย สูญเสีย เพียงเพื่อความต้องการของใครบางคน กลุ่มบางกลุ่ม โดยเค้าไม่สนใจใครที่ไม่เห็นด้วยเลยและสามารถกระทำการใดๆกับคนเหล่านี้ด้วยคำว่า “เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” ทั้งๆที่ มันเริ่มความไม่สงบจากใครละ? คุณตอบคำถามนี้ได้หรือยัง….
ครูหนุ่ม 6 พ.ย. 56 ….
การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
by admin on ต.ค..26, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ตั้งแต่ผมบรรจุมา (บรรจุเมื่ิอ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔) จนถึงปัจจุบันผมมีความสงสัยและเคืองใจในเรื่องของการการประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอด เนื่องจากได้รับคำบอกเล่า แนะนำ สั่งการ(จาก ผอ จาก เจ้าหน้าที่บุคลากร) และคำตำหนิติเตียน ในการประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่าผิดไม่ถูก บางคนบอกว่าต้องระดับต่ำกว่านี้ ขีดน้อยกว่านี้มีสิทธิ์อะไรมาใส่ ๒ ขีด ๓ ขีด บางคนบอกว่าใส่ได้ เค้าก็ใส่กัน (เค้าคนนี้คือใคร?) แต่เมื่อสอบถามเรื่องระเบียบจริงๆ กับไม่มีใครยืนยันและตอบได้อย่างมีหลักฐาน หรืออาจจะรู้แต่ขี้เกียจบอกเพราะยาวมาก เหมือนที่ผมกำลังจะพิมพ์อยู่นี้มันยาวจริงๆครับ เพราะอะไร เพราะเมื่อผมต้องการรู้ความจริงและสามารถประดับอินทรธนูได้อย่างสง่าผ่าเผยดังเช่นความภูมิใจในวิชาชีพและความก้าวหน้าของตัวเองให้ บิดามารดาดีใจ และภูมิใจในตัวเอง จะว่าบ้าเครื่องแบบไหมก็ไม่ถึงกับบ้าเครื่องแบบ แค่อยากมีความรู้สึกว่า “เมื่อต้องแต่งกายเครื่องแบบข้าราชการแล้วต้องแต่งกายให้สุภาพ ถูกต้อง สมกับเป็นข้าราชการของแผ่นดินเท่านั้นเอง จริงๆนะครับผมคิดแบบนี้” ซึ่งโดยปกติตัวเองก็ไม่ค่อยจะแต่งกายเรียบร้อยสักเท่าไร แต่วันไหนที่ต้องแต่งชุด “ข้าราชการ” ผมจะแต่งตัวเรียบร้อยเสมอ…
เมื่อความต้องการอยากรู้ความจริงความถูกต้องมันเริ่มขึ้น จึงลงมือค้นคว้าและอ่านกฏ ระเบียบ พ.ร.บ. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มากมาย จนมีความมั่นใจว่า เข้าใจอย่างถ่องแท้ (ถ้าไม่มีกฏ ระเบียบ พ.ร.บ. ประกาศราชกิจจานุเบกษา มายกเลิกหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง หรือ ก่อนหน้าที่ผมไมไ่ด้อ่านนะครับ บางทีผมก็อาจจะพลาดได้ถ้าพลาดอย่างไร ช่วยแนะนำเพิ่มเติมผมด้วยนะครับ) ก่อนที่จะเข้าสู่การสรุป ในเรื่องนี้ สำหรับคนที่สนใจ แนะนำให้ดาวโหลดเอกสารต่างๆ มาเตรียมไว้ก่อน เพื่อประกอบการอ่าน ซึ่งผมไม่สามารถลงไว้ให้ได้ในนี้ เนื่องจากกลัว แบนวิช จะทะลัก จึงต้องขอ แนบลิงค์จากแหล่งต่างๆ ที่เค้ามีไว้ให้บริการดาวโหลดก่อนนะครับ เอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกันผมสรุปออกมาได้ ทั้งหมด ๕ เรื่อง ดังนี้
๑. พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ฉบับดั่งเดิมเก่ามาก
พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ฉบับพิมพ์ใหม่ อ่านง่ายขึ้นมาหน่อย
๒. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗
๓. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
๔. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘
๕. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓
โหลดมาไว้ก่อนนะครับเพื่อจะได้ตามอ่านง่ายๆ เมื่อเอกสารพร้อมแล้วก็เริ่มตามอ่านกันได้เลยครับ
บทที่ ๑. อันดับแรกผมสงสัยว่า “ครู” คือข้าราชการประเภทไหนกันแน่ เมื่อตามอ่านใน พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ “มาตรา ๔ คำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน”.ตามพระราชบัญญัตินี้ให้หมายความถึงข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม และข้าราชการตุลาการ” จะเห็นได้ว่ายังไม่มีการกล่าวถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเพียงแค่คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” ที่น่าจะใช่ อาจจะใช้เครื่องแบบตาม พ.ร.บ. นี้ได้ แต่ยังไม่ชัดเจน
บทที่ ๒. อันดับต่อมาก็ ผมก็หาต่อว่า ตกลงครู คือ ข้าราชการประเภทไหนกันแน่ จาก พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๗๙ ก ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
จาก พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ผมสรุปได้ว่า ครู คือ “ข้าราชการพลเรือน” ตาม มาตรา ๕ ครับ
บทที่ ๓. เมื่อสรุปได้ว่า ครู คือ “ข้าราชการพลเรือน” ก็ไปตามดูเรื่อง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมื่ออ่าน พ.ร.บ. นี้จบ (ยาวววววมากกกก แต่คงคิดว่าครูทุกท่านคงจะเคยผ่านตากันมาแล้วในตอนสอบ ผมอ่านแค่ตอนสอบนั้นไม่กี่ครั้งเอง เหอๆๆๆ) ก็จะสรุปเพิ่มเติมได้ว่า ครู นั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” ใช้ พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ เหมือนกัน และตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท คือ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ซึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องคือและหรือสาระสำคัญของบทความนี้คือ ครูอยู่ใน ประเภทไหน ไมไ่ด้มีบอกไว้ ซึ่งมีผลต่อการการแต่งกาย ตาม กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่ออกตามมาจึงเริ่มค้นหาต่อ
บทที่ ๔. เมื่อ กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ออกปรับปรุงจาก พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องแบบข้าราชการตาม พ.ร.บ. นี้ และนี้คือ จุดเริ่มของความสับสน ในการ “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” ตามบทความนี้ที่ เพราะ การแต่งกายของข้าราชการพลเรือนประเภทต่างๆ นั้น “ไม่เหมือนกัน”
จาก กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ นี้ และสิ่งที่ สรุปมาแต่ก่อนหน้านั้น ครู นั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” ให้ใช้ อินทรธรูและช่อชัยพฤกษ์ ตาม กฏที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้ แต่ยัง ไม่มีความชัดเจนในเรื่องที่ว่า ครู นั้น อยู่ใน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทไหน (ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท คือ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ) ก็เลย(คงจะ)ยังไม่มีใครกล้าที่ใส่อินทรธนูที่ มีระดับที่สูงขึ้นไป และเกิดความ เข้าใจกันเองมายาวนานแต่เดิม ว่า ครู ค.ศ. ๑ ,๒, ๓นั้น ตั้งใส่ได้ ๑ ขีด ๒ ขีด ๓ ขีด ตามระดับ และระดับซี ๓ ,๔ ,๕ ,๖ ,๗ ,๘ ในอดีตยังตามมาหลอกหลอน และสับสน เมื่อ กฎใหม่นี้ออกมา จึงเกิดการสอบถามและสับสนกันอย่างมากว่า “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นั้นอย่างไหนถึงจะถูกต้องกันแน่ จนสุดท้าย ก็มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ออกตามมาในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้นเอง
บทที่ ๕. เมื่อมี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ออกตามมาในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ความชัดเจนของ “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นั้นก็เป็นอันสรุปได้ดังนี้
เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน แก้ไขตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉ.๙๔ (พ.ศ.๒๕๕๓)
จากข้อมูลที่ค้นคว้า ศึกษาตามอ่านมา ก็สรุป ได้ว่า ครูนั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ” การประดับอินทรธนูและช่อชัยพฤกษ์นั้น จะมีแถบมากกว่า ข้าราชการประเภท อื่นๆ ซึ่ง ณ เงินเดือน ปัจจุบัน ตาม ว๓๐ ของ ครูนั้น สามารถ ใช้ อินทรธนูและช่อชัยพฤกษ์ ตามรูปประกอบที่ลงไว้ตั้งแต่ต้นได้เลย แต่!!!!!!! ในการดำรงชีวิตจริงนั้น ค่อนข้างมีปัญหามากกับการแต่งกายแบบใหม่นี้ เพราะว่าจะถูกต่อว่า หรือติเตียนว่าเราใส่แถบมากไป ทั้งจาก ผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน ในปัจจุบันผมเป็นครู ค.ศ.๑ เงินเดือน ๑๕,๐๒๐ บาทแล้วแต่ยังคงใช้ อินทรธนู ในระดับ ๕ (ตามภาพประกอบ) อยู่เนื่องจากภาพรวมยังไม่ชัดเจนและเกรงใจท่านๆทั้งหลายตามความเหมาะสม
(edit แก้ไขข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเหมาะสม ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๒๗ น.)
บทความนี้ กระผมนายยุทธพงษ์ สืบภักดี ครู ค.ศ. ๑ โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ได้รวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจด้วยตนเองทั้งหมดจากเอกสาร ซึ่ง อาจจะมีการผิดพลาดหรือคาดเคลื่อนได้ แต่ค่อนข้างมั่นใจว่าสิ่งที่อ่านและทำความเข้าใจมานั้นถูกต้อง เมื่อมีกลุ่มเพื่อนครูด้วยกันสอบถามกันมาค่อนข้างมากและยาวนานมาแล้ว จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และพร้อมรับคำแนะนำถ้ามีความผิดพลาดประการใด รบกวนติดต่อและแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ e-mail naum99@hotmail.com เนื่องจากไม่ไ่ด้เปิดรับความเห็นใน Blog นี้ และจะนำบทความนี้ไปเผยแพร่ใน ชมรมครู ค.ศ.1 แห่งประเทศไทย ท่านสามารถตามไปแนะนำและร่วมกลุ่มกันได้ครับ ด้วยความเคารพ
ครูหนุ่ม
๒๖ ต.ค. ๒๕๕๖
โครงการตลาดนัดความดี
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงการตลาดนัดความดี more...โครงการมอบจักรยายให้นักเรียนโดยกลุ่มpttgcและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวทวิตเตอร์
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงการมอบจักรยายให้นักเรียนโดยกลุ่มpttgcและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวทวิตเตอร์ more...วิชาศิลปะเพิ่มเติม ภาพพิมพ์
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน วิชาศิลปะเพิ่มเติม ภาพพิมพ์ more...วิชาศิลปะเพิ่มเติม จิตรกรรมสากล
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน วิชาศิลปะเพิ่มเติม จิตรกรรมสากล more...โครงงานศิลปะ ม.ต้น
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงงานศิลปะ ม.ต้น more...การประกวดวาดภาพวันวิทยาศาสตร์
by admin on ส.ค..30, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
พรุ่งนี้จะพานักเรียนฝปลองประกวดวาดภาพดูว่าจะสู้เค้สได้ไหม มั่นใจประมาณ 80% ว่าต้องมีรางวัลติดมือกลับมาแน่ ที่เหลือลุ้นกลัวจะทำไม่ทันในเวลาที่กำหนดโหดมาก 3 ชั่วโมงเอง
ผ่านพ้นไปแล้วกับการประกวดวาดภาพวิทยาศาสตร์
ถึงแม้การประกวดครั้งนี้จะแปลกๆสักหน่อย ระบบระเบียบมั่วๆ
กีฬานักเรียน กิจกรรมที่ควรสนับสนุน
by admin on ส.ค..30, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
กีฬานักเรียนนั้นมีเป็นประจำทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด ทุกระดับชั้น ผมได้เป็นทั้งนักกีฬาตั้งแต่สมัยเรียนและผู้ควบคุมทีม เลยชื่นชอบเป็นพิเศษ กีฬาที่ชื่นชอบนั้นก็มีหลายอย่าง ที่ถนัดสุดก็บาสเก็ตบอล รองลงมาก็ปิงปอง และวอลเลย์บอล พอได้ทำงานก็เลิกเล่นไปนาน แต่พอมาเป็นครูก็เห็นเด็กๆเล่นกีฬากันและขาดแคลนคนูผู้ฝึกซ้อมก็เลยกระโจนลงไปอีกงาน กีฬาที่เลือกก็คือ ปิงปอง เพราะไม่มีคนทำ ครูคนเก่าย้ายไปแล้วเลยรับมาทำเอง พอได้ลงไปคลุกคลีกับเด็กๆ ก็ยิ่งเห็นถึงความสามารถของเด็กแถวนี้จริงๆ เล่นปิงปองกันมีแววมาก หลังจากที่ลงมือซ้อมและลองมองๆคนที่พร้อมจะเข้ามาเล่นจริงจังก็ได้มา2-3คนส่วนที่เหลือนั้นขาดซ้อม ถึงจะฝีมือดีแต่ขาดซ้อมก็ไม่ถือว่าเป็นนักกีฬา สู้คนที่ตั้งใจซ้อมแต่ไปชนะหรือแพ้ก็จะได้ผลลัพท์และกำลังใจที่ดีกว่า หลังจากลงทุนลงแรงด้วยตนเองไปเยอะพอสมควร เพราะขาดการสนับสนุนที่ดีจาก….แต่นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ ผลงานที่ได้รับกลับมานั้นน่าพอใจเลยที่เดียว ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด กวาดรางวัลมามากน้อย ทุกรายการ น่ายินดีจริงๆ
ศิลปะภาพพิมพ์
by admin on ส.ค..28, 2013, under ครูหมีสอนศิลปะ
หน่วยการเรียนรู้เป็นเรื่องการสอนเกี่ยวกับ ศิลปะภาพพิมพ์ในโรงเรียนบ้านนอกที่ห่างไกลจากเมืองแบบนี้การที่จัสอน ศิลปะถาพพิมพ์นั้น เป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบากที่สำคัญเลยคืออุปกรณ์ในการเรียน ในเนื้อหาต้องสอนเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพจาก 4 ประเภท คือ
1.แม่พิมพ์นูน (แกะไม้ แกะโฟม)
2.แม่พิมะ์ร่องลึก (ไม่สามารถทำการสอนปฎิบัจิได้เพราะต้องใช้แท่นะิมพ์แรงกดสูง แม่พิมพ์โลหะ หิน)
3.แม่พิมพ์ตะแกรงไหม (ทะลุ) ซิลค์สกรีนนั้นเอง
4.แม่พิมพ์จากพื้นผิววัสดุต่างๆ หิน ไม้ และสิ่งของรอบๆตัว
วิชาศิลปะในปัจจุบันต้องเรียนอย่างไง?
by admin on ก.ค..29, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
วิชาศิลปะในปัจจุบันระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายนั้น รูปแบบการเรียนเปลี่ยนไปมากจากสมัยผมเรียนตอนเด็ก ในปัจจุบันวิชาศิลปะนั้นแทบจะโดนถอดออกจากวิชาหลักไปแล้วใน ม.ต้น นั้นเหลือเรียนแค่สัปดาห์ละ 2 คาบ(คาบละ55นาที) ม.ปลายนั้นยิ่งหนักเหลืออาทิตย์ละ 1 คาบเท่านั้น แล้วถ้สโรงเรียนนั้นเน้นวิชาการหลัก คณิต อังกฤษ วิทย์ ภาษาไทย ก็แทบจะไม่เหลือวิชาศิลปะเพิ่มเติมให้เรียนเลย เว้นแต่ ม.ปลายจะเลือกเรียนสายศิลป์ ซึ่งเหลือน้อยมากและผิดวัตถุประสงคในการเลือกเรียนไปแล้ว เพราะเด็กที่เลือกเรียนสายศิลป์ไม่ได้ชอบวิชาศิลปะ แต่เข้าใจและได้รับการแนะนำที่ผิดๆมาจากทั้งครูและพี่ เพื่อน ว่าเรียนสายศิลป์แล้วจะเรียนง่ายสบาย ไม่ค่อยเรียน และจบสะดวก!!!!
ส่วนถ้าเรียนกันจริงๆแล้ว เนื้อหานั้นมากมายเหลือเกิน ตามตัวชี้วัด อะไรที่มากมายจนไม่มีทางที่จะสอนให้ครบได้ตามเวลาที่ให้มา ซึ่งแค่เนื้อหาที่ต้องเรียนถ้าเรียนกันจริงๆแล้วทั้งเทอมก็ไม่พอ แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปทำงานปฏิบัติซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเรียนวิชาศิลปะที่สุด ภาระตกหนักที่ครูที่ต้องอัดเนื้อหาและวิชาการเข้าไปอย่างมากมายเพื่อ???? เพื่อหวังผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบระดับชาติ o-net บ้าบอคอแตก ซึ่งเป็นตัวบอกคุณภาพของโรงเรียนและครูผู้สอนว่าทำการเรียนการสอนให้เด็กเข้าใจได้หรือไหม ซึ่งผมก็เห็นด้วย(บางส่วน)ว่าเป็นตัวกระตุ้นให้ครูและเด็กทำการเรียนการสอนอย่างตั้งใจ แต่…? ข้อสอบในปีที่ผ่านมาของทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลายนั้น ผมได้ลองอ่านและลองทำเฉลยแล้วบอกได้เลยว่า หินมาก ยากสุดๆ อย่า!!!เพิ่งคิดว่าผมโง่เอง ท่านลองทำก่อน แล้วจะรู้ว่าข้อสอบนั้นมันเกินระดับเด็กมัธยมที่จะสามารถทำได้ มันข้อสอบของระดับมหาลัยเลยจริงๆ เนื้อหาลงลึกมากจนเกินไป ในเมื่อท่านๆ นั่นไม่เห็นความวำคัญของวิชานี้แต่เวลาออกข้อสอบนั้นเหมือนกับจะเอาเด็กไปเข้ามหาลัยศิลปะชั้นนำของปนะเทศไทยเลยทีเดียว ผลการทดสอบที่ออกมานั้น หวาดเสียวมากสำหรับครูศิลปะอย่างผม คนอื่นอาจจะไม่ลำบากแต่ผมคิดมากไปเอง…เพราะอะไร????
เพราะผมมองว่าวิชาศิลปะนั้นในระดับมัธยมต้นและปลายควรงจะเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์และความสนุกสนานในการเรียนมากกว่าวิชาการที่เข้มข้นเหมือนเรียนมหาลัย ทำไมผมถึงกล้าพูดแบบนั้น ก็ย้อนกลับไปอดีตชาติของผมที่ก่อนจะมาเป็นครูศิลปะมัธยมนั้ยผมเคยเป็นครูศิลปะระดับอาชีวะมาก่อน ซึ่งเนื้อหายังไม่หนักขนาดนี้เลยเน้นฝีมือและทักษะ วิชาการพอประมาณ. แล้วผลที่ได้คือเด็กมีฝีมือสอบเข้ามหาลัยชั้นนำของประเทศได้ ด้วยการทดสอบ ทักษะเป็นส่วนใหญ่และบางมหาลัยมีการทดสอบวิชาการแต่!!! ข้อสอบนั้นง่ายกว่า o-net ระดับมัธยมซะอีก!!!!!
ผมครุดคิดและสับสนในแนวทางการสอนอยู่บ่อยครั้งว่าจะเอาไงดีวะเนี้ย ตูจะสอนไงดีวะ เอาวิชาการเน้นผล o-net เอาทักษะฝีมือที่ได้ หรือจะเอาทั้งสองอย่างผสมกันซึ่งทำอยู่แต่…ถ้าผสมกันแล้วจะทำให้เนื้อหานั้นไม่พอจะสอนในเวลาที่กำหนดให้ จะให้งาน ให้รายงาน ให้การบ้านก็แสนจะสงสานเด็กไทยจริงๆ เพราะทุกวิชาคงจะเป็นเหมือนกันหมด การบ้านมากมายมหาศาล เลยต้องหลีกทางให้กับวิชาหลัก…..
หลังจากที่ลองผิดลองถูกมาหลากหลายวิธีสุดท้ายผมตัดสินใจแล้วว่า การเรียนศิลปะให้ได้ดีนั้นต้อง สอนให้เด็กสนุกในการเรียน ไม่ใช่แค่วาดรูปอย่างเดียว ต้องผสมทุกสิ่งทุกอย่างไปในตัวทั้ง การงานอาชีพ คอมพิวเตอร์ วิชาการ วาด ปั้น พิมพ์ ของเล่น เกมต่างๆ และที่สำคัญต้อง ชื่นชม โชว์ผลงานเหล่านั้นของเด็กให้ทุกคนในโรงเรียนได้เห็นและชื่นชมด้วย ให้เด็กสนุกและเริ่มที่อยากจะเข้ามาเรียน ตื่นเต้น ชอบ และรู้สึกว่าเข้ามาเล่น!! ไม่ได้มาเรียน แล้วเราค่อยแทรกเนื้อหาที่สำคัญเข้าไปในระหว่างการทำงานหรือแนะนำเป็นรายบุคคลเลยตามความสามารถเลยจะได้ผลที่ดีที่สุด
ครูหนุ่ม
30 ก.ค. 2556
การประกวดแข่งขันวาดภาพ? ได้อะไร? ใครได้?
by admin on ก.ค..23, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ตลอดปีการศึกษามีการประกวดแข่งขันวาดภาพระบายสีเข้ามามากมาย ท่านผู้บริหารก็จะพยายามกระตุ้นให้มีการส่งเข้าประกวดอยู่ตลอดเวลาด้วยเหตุผลคืออะไรคนที่อ่านลองนึกๆไว้ในใจตอนนี้เลยนะครับก่อนอ่านบทความต่อไป ว่าคิดต่างจากผมอย่างไง บทความนี้ผมเขียนขึ้นมาเพราะในการส่งประกวดครั้งล่าสุดนี้ผมเริ่มไม่มั่นใจในตัวเองว่าทำไปทำไม?
คำถามคือ?
ครูและเด็กพร้อมไหม?
มีเวลาให้มากขนาดไหน?
การสนับสนุนจากโรงเรียนละมีไหม?
ผมถามตัวเองทุกครั้งว่าประกวดไปเพื่ออะไร? เพื่อตัวครู หรือเด็ก หรือผู้บริหาร หรือเพื่อโรงเรียน
ความไม่มั่นใจในแนวทางการทำงานและเหตุผลบางครั้งทำให้งงๆ บ่อยครั้ง เพราะอะไรเพราะคนลงมือทำงานคือตัวเด็ก ไม่ใช่ครู ไม่ใช่ผู้บริหาร ไม่ใช่โรงเรียน แต่เป็นตัวเด็กนักเรียนล้วนๆ หลายครั้งที่เด็กถามกลับมาว่า “ประกวดไปทำไมค่ะ” คำุถามนี้ทำให้ผมอิ้งไปหลายครั้งอยู่เพราะว่าเราตอบจริงๆไม่ได้ “อ้อ นายสั่งง่ะต้องเอาใจนาย” “อ้อเผื่อได้รางวัลง่ะครูและท่านจะได้ได้หน้า” “โรงเรียนจะได้มีชื่อเสียง มีหน้ามีตา” คำตอบเหล่านี้มันผุดขึ้นมาในใจผมทันทีที่เด็กถาม แต่ไม่ใช่คำตอบที่เด็กต้องการ แล้วผมจะตอบอย่างไง…..
หลายๆคนอ่านมาถึงตรงนี้(ถ้ามีคนอ่านนะ)คงจะตอบว่า “เอ้า ก็ประกวดให้เด็กได้รางวัลละสิ” “เอ้า ก็ประกวดเพื่อสร้างความภูมิใจให้เด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองและโรงเรียนไปจนถึงครูผู้สอน ผู้บริหารนะสิ” ใช่ครับคำตอบง่ายๆ แค่นี้เอง…
แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่จะให้เด็กมาทำงานประกวดด้วยความตั้งใจจริง ทำด้วยใจ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจทั้งตัวเด็กและครูนั้น มันละเอียดอ่อนและเปราะบางมาก ถ้าเราหวังผลการแข่งขันแพ้ ชนะ หรือหวังรางวัลเป็นที่ตั้ง การฝึกซ้อมก็จะแตกต่างกันออกไปทันทีในรูปแบบของผลงานที่กำลังจะทำไปส่งประกวด ผมเคยเห็นเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาค่อนข้างมากตั้งแต่เป็นเด็กผู้ลงมือทำจนกระทั่งมาเป็นครู บางครั้งครูจะเป็นคนออกแบบให้กับเด็กเลยแล้วให้เด็กเป็นคนลงมือปฎิบัติซ้อมจนคล่องมือแล้วไปประกวด บางที่โรงเรียนใหญ่ๆดังๆทางด้านศิลปะถึงขั้นเรียกประชุมคณะครูทั้งกลุ่มเพื่อระดมความคิดในการออกแบบกันเลยทีเดียว บางที่คณะครูถึงกับพูดว่าการประกวดแข่งขันนั้นหมายถึงการโชว์ความสามารถของครูผู้ควบคุมการฝึกซ้อมกันเลยที่เดียวไม่ใช่ความคิดของเด็กเลย….แล้วเด็กได้อะไร? ได้รางวัล? ภูมิใจ? ได้ชื่อเสียง? หรือใครได้อะไร? และเมื่อเป็นอย่างงั้นเด็กจะเป็นอย่างไง?.
.
แรกๆ ผมทำแบบที่กล่าวมาทั้งหมดเพราะหวังผลที่จะตามมา ได้รางวัลมาแสนจะดีใจดีใจมากกว่าเด็กอีก กลับมาโรงเรียนมีการมอบรางวัลซ้ำอีกที่คณะ ที่หน้าเสาธง ถ่ายรูปกับท่านๆทั่งหลาย แสดงความยินดีไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ จน…เมื่อเราถามความรู้สึกเด็กที่พาไปชนะได้ที่ ๑ มาว่ารู้สึกอย่างไง เด็กตอบกลับมาทำให้สะเทือนใจไปเลย “ไม่รู้สึกอะไรเลยค่ะ ธรรมดาปกติ” ผมถามซ้ำอีกรอบ “ไม่ดีใจเลยเหรอได้ที่๑มาเลยนะ” เด็กตอบให้สะเทือนหนักเข้าไปอีก “ไม่ดีใจเลยค่ะ รู้สึกเหมือนไม่ได้ทำอะไรเลยก็ชนะแล้ว” …..ผมอิ้งไปเลยครับ ภาพการทำงานช่วงประกวดที่ผ่านมามันแวปวิ่งวนเข้ามาในหัวหมดเลยตั้งแต่ตอนเริ่มรับคำสั่งมาจากนายไปจนถึงการประกวดเสร็จสิ้น…..
ผมกลับมานั่งคิดทบทวน คิดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า เราทำอะไรอยู่? ประกวดไปเพื่ออะไร? แล้ว “เด็กได้อะไร” …..คำถามเกิดขึ้นมากมายในหัว คำตอบทางเลือกมีมายมายหลายเส้นทาง….จุดประสงค์ของการจัดการแข่งขันของผู้จัดการประกวดคืออะไร? จุดประสงค์ของผู้ส่งเข้าประกวดคืออะไร? และเด็กเข้าใจและเต็มใจในการเข้าประกวดไหม? สิ่งเหล่านี้ผมไม่เคยนึกถึงเลย นึกแต่ผลลัพธ์ที่จะได้ตามมา……
หลังจากการประกวดครั้งนั้นกับคำถามที่เจอมาและคำตอบที่ได้รับของเด็กและของตัวผมเอง แนวความคิดในการทำงานประกวดของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ไม่มีการบังคับ ไม่มีการจัดฉาก ไม่มีการจัดเตรียม ไม่มีการเอาใจใครทั้งสิ้นไม่ว่านายจะสั่งมา บังคับมาถ้าไม่ตรงตามแนวความคิดหรือใช้แนวความคิดของผม ผมไม่ทำ ไม่ส่ง และไม่ร่วมเด็ดขาด ถ้าอยากได้เชิญครูท่านอื่นทำแทนผมได้เลย แนวทางนั้นคือ …
ถ้ามีการประกวดเข้ามา จะประชาสัมพันธ์การประกวดให้นักเรียนทราบก่อนทั่วทั้งโรงเรียน
เขียนชื่อครูผู้ควบคุมไว้หลายๆคน (ที่ร.ร.ผมมี ๒ คน) เพื่อให้เด็กเป็นคนเลือกครูผู้ควบคุมตามใจชอบ
ถ้าเด็กมาเลือกผมหรือมีความสนใจในการประกวด ผมก็จะให้ทำรายงานเกี่ยวกับหัวข้อประกวดนั้นๆก่อนเลย (ค้นคว้าข้อมูล research) ถึงขั้นตอนนี้มีเด็กถอยออกไปหลายคยอยู่แต่ผมก็ตามกระตุ้นก่อนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
ต่อมาเมื่อเด็กมีความสนใจค้นคว้าข้อมูลมาแล้วเราก็มานั่งคุยกันว่าได้ข้อมูลอะไรมาบ้างตอบถามตั้งข้อสงสัยตั้งสมมุติฐานในเรื่องนั้น (วิเคราะห์ปัญหา analysis)
เมื่อเด็กและครูมีความคิดเห็นที่ตรงกันแล้วถึงจะเริ่มทำงานกันได้ ขั้นต่อมาคือการให้เด็กสรุปและบรรยายสิ่งที่รู้และเข้าใจหรือสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสืออย่างย่อ สรุปใจความสำคัญ (summary and report)
เมื่อนักเรียนเข้าใจในหัวใจของเรื่อง เข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอด เข้าใจในความต้องการของตนเอง ถึงจะให้เด็กลงมือร่างภาพแปลงจากตัวหนังสือเป็นภาพวาด (sketch)
เมื่อร่างภาพแก้ไขจนทั้งครูและเด็กพอใจเข้าใจตรงกันโดยครูเป็นคนแนะนำถึงเหตุผลในการแก้ไขอยู่เสมอและรู้จักรับฟังเหตุผลของเด็กก่อนว่าทำไมถึงวาดแบบนั้นตรงนั้นก่อนที่จะให้เด็กแก้งานโดยไม่รับฟังความคิดของเด็กก่อนอย่าลืมว่า “มันคืองานของเด็กไม่ใช่ของครู”
และขั้นตอนสุดท้ายการลงมือปฎิบัติลงสี (printing) ปล่อยให้เป็นไปตามใจเค้า ฝีมือเค้า คอยสนับสนุน ตอบคำถาม ให้กำลังใจเค้า เมื่อเค้าต้องการคำตอบ หรือเสริมความมั่นใจของเค้า…ผลงานก็จะเสร็จเองไม่ว่าจะ เต็มร้อยหรือไมาก็ตาม…
ช่วงขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดแม้จะใช้เวลานานและวุ่นวาย บางครั้งผมใช้เวลาเป็นเดือนๆในการทำขั้นตอนนี้ แต่ผลที่ได้รับนั้นจะทำให้เด็กมีความเข้าใจ รับรู้ถึงแรงบันดาลใจในการทำงาน สามารถเข้าใจตัวเองว่าทำไปเพราะอะไร มีเหตุมีผล และสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างท่องแท้และกล้าที่จะแสดงความคิดของตัวเอง จนตัวผมเองยังตกใจในการพัฒนา ถึงแม้ว่าจะมีเด็กบางคนไม่สามารถก้าวข้ามมาในสิ่งที่ผมต้องการให้เค้าเข้าใจได้ ผมก็ยังคงให้ทำตามใจชอบของเค้าเองอยู่ดีถึงแม้ว่ามันจะไม่ดีผมก็ไม่ว่าและไม่แก้ไขให้ถ้าเค้ายังไม่เข้าใจและหวังว่าครั้งหน้าจะเข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการจะบอกเค้า บางคนกระโดดข้ามขั้นตอนไปก็มี หายหน้าหายตาไปเลยก็มีหรือโผล่มาช่วงท้ายๆใกล้จะหมดเวลาแล้วก็มี ไม่เป็นไรขอแค่ให้เค้าตั้งใจมาเองผมรับหมดส่งหมด
และเมื่อเค้าได้รับรางวัลมาไม่ว่าจะรางวัลอะไรก็ตามเค้าจะภูมิใจ ดีใจ และเห็นคุณค่าของงานที่ลงมือลงแรงไป บอกกล่าวอย่างภาคภูมิใจต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู เพื่อน พี่น้องว่า “นี้คืองานที่เค้าตั้งใจทำและภูมิใจ”
ครูหนุ่ม
๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖