ครูหมีขี้บ่น
ปั้นดินขนมปัง น่ารักจริงๆเลยชอบ
by admin on ก.พ..26, 2014, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน ปั้นดินขนมปัง น่ารักจริงๆเลยชอบ more...ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งความรู้แบบพอเพียงเลี้ยงปลา
by admin on ก.พ..26, 2014, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งความรู้แบบพอเพียงเลี้ยงปลา more...ค่ายอาสาพัฒนาผู้เรียน
by admin on ก.พ..26, 2014, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน ค่ายอาสาพัฒนาผู้เรียน more...เที่ยวเชียงใหม่
by admin on ก.พ..26, 2014, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน เที่ยวเชียงใหม่ more...โครงการดนตรีในสวน
by admin on ก.พ..26, 2014, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงการดนตรีในสวน more...ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
by admin on ธ.ค..05, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ more...อบรมเทคนิคการสอนการใช้สีน้ำโดย อาจารย์
by admin on พ.ย..29, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน อบรมเทคนิคการสอนการใช้สีน้ำโดย อาจารย์ more...ประวัติศาสตร์มีไว้ให้ศึกษา แต่ทำไมต้องซ้ำรอยเสมอ
by admin on พ.ย..06, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
เมื่อคนมีอำนาจหลงระเริงคิดอยากจะทำอะไรก็ได้กับประเทศนี้โดยใช้อำนาจที่ได้มา จนบางครั้งหลงคิดไปว่าคนทั้งประเทศต้องเห็นตามเสมอ เมื่อถึงจุดนั้นก็จะได้เห็นพลังของประชาชนที่ต้องการความถูกต้อง ประชาธิปไตยสอนให้ฟังเสียงคนข้างมากก็จริงแต่ไม่ได้บอกว่าให้ละทิ้งเสียงข้างน้อย เพราะคนเสียงข้างน้อยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเมืองด้วยเหมือนกัน เศษ 1 ส่วน 10 กับ เศษ 10 ล้าน ส่วน 100ล้าน เท่ากันไหมตามหลักคณิตศาสตร์มันเท่ากัน แต่ถ้าเป็นจำนวนคนละมันมากมายมหาศาลจริงๆ หูตาสว่างกันสักทีเถอะเค้ากำลังนำพาประเทศไทยถอยหลังเข้าคลองปิดหูปิดตาบิดเบือนสื่อเสนอแต่ความดีที่ซ่อนความชั่วไว้มากมาย อีกไม่นานคงกลายเป็นประเทศที่ป่าเถื่อนปกครองด้วยกำลัง อำนาจมากกว่าความรู้ ความสามารถ แล้วลูกหลานเราจะเป็นอย่างไงในอนาคต คนจนต้องเป็นทาสคนรวย(ทาสเงินตรา) คนรวย มีอำนาจ ทำอะไรก็ไม่ผิด นี้ยิ่งกว่าการปกครองอีกระบบซะอีก ประวัติศาสตร์สอนเราอยู่แล้วมีตัวอย่างให้ดูเหมือนประเทศเพื่อนบ้านเมื่อ 10-30 ปีก่อน ว่าการปกครองด้วยคนที่บ้าอำนาจ ประชาชนจะเป็นอย่างไง ทุกวันนี้ และแม้กระทั่งประเทศไทยเองก็มีตัวอย่างให้ดูอยู่แล้วเมื่อในอดีตผู้นำประเทศต้องการแต่สิ่งที่ตัวเองต้องการโดยไม่ฟังเสียงประชาชน บ้านเมืองมันถึงต้องวุ่นวาย สูญเสีย เพียงเพื่อความต้องการของใครบางคน กลุ่มบางกลุ่ม โดยเค้าไม่สนใจใครที่ไม่เห็นด้วยเลยและสามารถกระทำการใดๆกับคนเหล่านี้ด้วยคำว่า “เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” ทั้งๆที่ มันเริ่มความไม่สงบจากใครละ? คุณตอบคำถามนี้ได้หรือยัง….
ครูหนุ่ม 6 พ.ย. 56 ….
การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
by admin on ต.ค..26, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ตั้งแต่ผมบรรจุมา (บรรจุเมื่ิอ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔) จนถึงปัจจุบันผมมีความสงสัยและเคืองใจในเรื่องของการการประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอด เนื่องจากได้รับคำบอกเล่า แนะนำ สั่งการ(จาก ผอ จาก เจ้าหน้าที่บุคลากร) และคำตำหนิติเตียน ในการประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่าผิดไม่ถูก บางคนบอกว่าต้องระดับต่ำกว่านี้ ขีดน้อยกว่านี้มีสิทธิ์อะไรมาใส่ ๒ ขีด ๓ ขีด บางคนบอกว่าใส่ได้ เค้าก็ใส่กัน (เค้าคนนี้คือใคร?) แต่เมื่อสอบถามเรื่องระเบียบจริงๆ กับไม่มีใครยืนยันและตอบได้อย่างมีหลักฐาน หรืออาจจะรู้แต่ขี้เกียจบอกเพราะยาวมาก เหมือนที่ผมกำลังจะพิมพ์อยู่นี้มันยาวจริงๆครับ เพราะอะไร เพราะเมื่อผมต้องการรู้ความจริงและสามารถประดับอินทรธนูได้อย่างสง่าผ่าเผยดังเช่นความภูมิใจในวิชาชีพและความก้าวหน้าของตัวเองให้ บิดามารดาดีใจ และภูมิใจในตัวเอง จะว่าบ้าเครื่องแบบไหมก็ไม่ถึงกับบ้าเครื่องแบบ แค่อยากมีความรู้สึกว่า “เมื่อต้องแต่งกายเครื่องแบบข้าราชการแล้วต้องแต่งกายให้สุภาพ ถูกต้อง สมกับเป็นข้าราชการของแผ่นดินเท่านั้นเอง จริงๆนะครับผมคิดแบบนี้” ซึ่งโดยปกติตัวเองก็ไม่ค่อยจะแต่งกายเรียบร้อยสักเท่าไร แต่วันไหนที่ต้องแต่งชุด “ข้าราชการ” ผมจะแต่งตัวเรียบร้อยเสมอ…
เมื่อความต้องการอยากรู้ความจริงความถูกต้องมันเริ่มขึ้น จึงลงมือค้นคว้าและอ่านกฏ ระเบียบ พ.ร.บ. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มากมาย จนมีความมั่นใจว่า เข้าใจอย่างถ่องแท้ (ถ้าไม่มีกฏ ระเบียบ พ.ร.บ. ประกาศราชกิจจานุเบกษา มายกเลิกหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง หรือ ก่อนหน้าที่ผมไมไ่ด้อ่านนะครับ บางทีผมก็อาจจะพลาดได้ถ้าพลาดอย่างไร ช่วยแนะนำเพิ่มเติมผมด้วยนะครับ) ก่อนที่จะเข้าสู่การสรุป ในเรื่องนี้ สำหรับคนที่สนใจ แนะนำให้ดาวโหลดเอกสารต่างๆ มาเตรียมไว้ก่อน เพื่อประกอบการอ่าน ซึ่งผมไม่สามารถลงไว้ให้ได้ในนี้ เนื่องจากกลัว แบนวิช จะทะลัก จึงต้องขอ แนบลิงค์จากแหล่งต่างๆ ที่เค้ามีไว้ให้บริการดาวโหลดก่อนนะครับ เอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกันผมสรุปออกมาได้ ทั้งหมด ๕ เรื่อง ดังนี้
๑. พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ฉบับดั่งเดิมเก่ามาก
พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ฉบับพิมพ์ใหม่ อ่านง่ายขึ้นมาหน่อย
๒. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗
๓. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
๔. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘
๕. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓
โหลดมาไว้ก่อนนะครับเพื่อจะได้ตามอ่านง่ายๆ เมื่อเอกสารพร้อมแล้วก็เริ่มตามอ่านกันได้เลยครับ
บทที่ ๑. อันดับแรกผมสงสัยว่า “ครู” คือข้าราชการประเภทไหนกันแน่ เมื่อตามอ่านใน พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ “มาตรา ๔ คำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน”.ตามพระราชบัญญัตินี้ให้หมายความถึงข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม และข้าราชการตุลาการ” จะเห็นได้ว่ายังไม่มีการกล่าวถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเพียงแค่คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” ที่น่าจะใช่ อาจจะใช้เครื่องแบบตาม พ.ร.บ. นี้ได้ แต่ยังไม่ชัดเจน
บทที่ ๒. อันดับต่อมาก็ ผมก็หาต่อว่า ตกลงครู คือ ข้าราชการประเภทไหนกันแน่ จาก พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๗๙ ก ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
จาก พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ผมสรุปได้ว่า ครู คือ “ข้าราชการพลเรือน” ตาม มาตรา ๕ ครับ
บทที่ ๓. เมื่อสรุปได้ว่า ครู คือ “ข้าราชการพลเรือน” ก็ไปตามดูเรื่อง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมื่ออ่าน พ.ร.บ. นี้จบ (ยาวววววมากกกก แต่คงคิดว่าครูทุกท่านคงจะเคยผ่านตากันมาแล้วในตอนสอบ ผมอ่านแค่ตอนสอบนั้นไม่กี่ครั้งเอง เหอๆๆๆ) ก็จะสรุปเพิ่มเติมได้ว่า ครู นั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” ใช้ พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ เหมือนกัน และตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท คือ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ซึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องคือและหรือสาระสำคัญของบทความนี้คือ ครูอยู่ใน ประเภทไหน ไมไ่ด้มีบอกไว้ ซึ่งมีผลต่อการการแต่งกาย ตาม กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่ออกตามมาจึงเริ่มค้นหาต่อ
บทที่ ๔. เมื่อ กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ออกปรับปรุงจาก พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องแบบข้าราชการตาม พ.ร.บ. นี้ และนี้คือ จุดเริ่มของความสับสน ในการ “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” ตามบทความนี้ที่ เพราะ การแต่งกายของข้าราชการพลเรือนประเภทต่างๆ นั้น “ไม่เหมือนกัน”
จาก กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ นี้ และสิ่งที่ สรุปมาแต่ก่อนหน้านั้น ครู นั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” ให้ใช้ อินทรธรูและช่อชัยพฤกษ์ ตาม กฏที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้ แต่ยัง ไม่มีความชัดเจนในเรื่องที่ว่า ครู นั้น อยู่ใน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทไหน (ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท คือ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ) ก็เลย(คงจะ)ยังไม่มีใครกล้าที่ใส่อินทรธนูที่ มีระดับที่สูงขึ้นไป และเกิดความ เข้าใจกันเองมายาวนานแต่เดิม ว่า ครู ค.ศ. ๑ ,๒, ๓นั้น ตั้งใส่ได้ ๑ ขีด ๒ ขีด ๓ ขีด ตามระดับ และระดับซี ๓ ,๔ ,๕ ,๖ ,๗ ,๘ ในอดีตยังตามมาหลอกหลอน และสับสน เมื่อ กฎใหม่นี้ออกมา จึงเกิดการสอบถามและสับสนกันอย่างมากว่า “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นั้นอย่างไหนถึงจะถูกต้องกันแน่ จนสุดท้าย ก็มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ออกตามมาในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้นเอง
บทที่ ๕. เมื่อมี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้ใช้เครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ออกตามมาในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ความชัดเจนของ “การประดับอินทรธนูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นั้นก็เป็นอันสรุปได้ดังนี้
เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน แก้ไขตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉ.๙๔ (พ.ศ.๒๕๕๓)
จากข้อมูลที่ค้นคว้า ศึกษาตามอ่านมา ก็สรุป ได้ว่า ครูนั้น คือ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ” การประดับอินทรธนูและช่อชัยพฤกษ์นั้น จะมีแถบมากกว่า ข้าราชการประเภท อื่นๆ ซึ่ง ณ เงินเดือน ปัจจุบัน ตาม ว๓๐ ของ ครูนั้น สามารถ ใช้ อินทรธนูและช่อชัยพฤกษ์ ตามรูปประกอบที่ลงไว้ตั้งแต่ต้นได้เลย แต่!!!!!!! ในการดำรงชีวิตจริงนั้น ค่อนข้างมีปัญหามากกับการแต่งกายแบบใหม่นี้ เพราะว่าจะถูกต่อว่า หรือติเตียนว่าเราใส่แถบมากไป ทั้งจาก ผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน ในปัจจุบันผมเป็นครู ค.ศ.๑ เงินเดือน ๑๕,๐๒๐ บาทแล้วแต่ยังคงใช้ อินทรธนู ในระดับ ๕ (ตามภาพประกอบ) อยู่เนื่องจากภาพรวมยังไม่ชัดเจนและเกรงใจท่านๆทั้งหลายตามความเหมาะสม
(edit แก้ไขข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเหมาะสม ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๒๗ น.)
บทความนี้ กระผมนายยุทธพงษ์ สืบภักดี ครู ค.ศ. ๑ โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ได้รวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจด้วยตนเองทั้งหมดจากเอกสาร ซึ่ง อาจจะมีการผิดพลาดหรือคาดเคลื่อนได้ แต่ค่อนข้างมั่นใจว่าสิ่งที่อ่านและทำความเข้าใจมานั้นถูกต้อง เมื่อมีกลุ่มเพื่อนครูด้วยกันสอบถามกันมาค่อนข้างมากและยาวนานมาแล้ว จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และพร้อมรับคำแนะนำถ้ามีความผิดพลาดประการใด รบกวนติดต่อและแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ e-mail naum99@hotmail.com เนื่องจากไม่ไ่ด้เปิดรับความเห็นใน Blog นี้ และจะนำบทความนี้ไปเผยแพร่ใน ชมรมครู ค.ศ.1 แห่งประเทศไทย ท่านสามารถตามไปแนะนำและร่วมกลุ่มกันได้ครับ ด้วยความเคารพ
ครูหนุ่ม
๒๖ ต.ค. ๒๕๕๖
โครงการตลาดนัดความดี
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงการตลาดนัดความดี more...โครงการมอบจักรยายให้นักเรียนโดยกลุ่มpttgcและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวทวิตเตอร์
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน โครงการมอบจักรยายให้นักเรียนโดยกลุ่มpttgcและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวทวิตเตอร์ more...วิชาศิลปะเพิ่มเติม ภาพพิมพ์
by admin on ก.ย..22, 2013, under ครูหมีขี้บ่น
ปิดความเห็น บน วิชาศิลปะเพิ่มเติม ภาพพิมพ์ more...