ยุทธพงษ์ สืบภักดี : ครูหนุ่ม

Archive for สิงหาคม, 2011

Fonts ปัญหาโลกแตกของนักออกแบบในเครื่องคอมพิวเตอร์

by on ส.ค..07, 2011, under ครูหมีขี้บ่น

          Fonts คืออะไร? มันก็คือ แบบอักษร นั้นเอง หรือเรียกง่ายๆว่าตัวหนังสือที่เราๆ ท่านๆ ใช้ สื่อสารกันนี้ล่ะ แต่เมื่อยุคคอมพิวเตอร์เข้ามามีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนทำงาน office หรือ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา คงจะหนีไม่พ้นเรื่องงานเอกสารที่ต้องทำจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ยิ่งเป็นพวกที่เรียนหรือทำงานทางด้าน ออกแบบ ทั้งหลาย ยิ่งต้องใช้แทบทุกวัน ทุกครั้ง ทุกเวลาไม่ว่าจะด้วยการเขียนด้วยมือ หรือใช้คอมพิวเตอร์

          ตัวผมนั้น เกิดและโตขึ้นมาในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่งจะเริ่มใช้งานกันอย่างกว้างขวาง คือสักตอนอายุ 7-8 ขวบ ที่บ้านก็เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้ ตอนนั้นยังคงจอสีเขียวๆ เครื่องละเป็นแสนบาท จริงเปล่าไม่รู้ฟังเค้าบอกมา แล้วมีเงินซื้อได้ไงว้าที่บ้านไม่ค่อยจะมีเงินนะตอนนั้นเท่าที่จำได้เป็นแค่ข้าราชการจนๆ แต่พอหลังจากนั้นผมก็รุ้ว่าคงจะเป็นไปได้เพราะว่าไม่นานนัก คุณน้าน้องคุณแม่ที่เป้นทหาร ก้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM มาใช้งานที่บ้านเครื่องละ แสนกว่าบาทจริงๆ (เค้าซื้อมาเพื่อทำงานเกี่ยวกับบัญชีการเงิน) ส่วนตัวผมนั้นก็ได้อนิจสงตามไปด้วยเพราะว่า อยากจะเล่นเกมแค่นั้นเอง ไอ้เครื่องจอเขียวมันไม่ค่อยมีเกมให้เล่นมากเท่าไร เป็น DOS อยู่เลยแต่เครื่องที่น้าซื้อมาใหม่เป็นจอสวยงามแล้ว เป็นวินโด 3.1 มั่งถ้าจำไม่ผิด เกมก็เริ่มมีความสวยงามมากขึ้น จำได้เลย นั่งรถเข้า กทม เพื่อไปซื้อเกม Simcity ที่ เซ็นทรัลลาดพร้าวกับพี่ชายแล้วก็รีบนั่งรถกลับมาบ้านที่ลพบุรีเพื่อเล่นเกม เหอๆ มานะจริงๆ ….แล้วเล่าทำไม อ่า อืม ก็เล่าเพราะว่าจะบอกว่าผมโตมาเป้นเด็กสองยุคจริงๆนะสิ คือ กำกึ่งระหว่างไม่มีคอมพิวเตอร์กับมีเครื่องพิวเตอร์แล้ว เพื่อบางคนที่ม่เข้าใจจะนึกไม่ออก ซึ่งส่วนนั้นผมก็เริ่มพิมพ์เอกสารเองแล้วตอนสัก ประถม 5-6 แล้วพิมพ์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์เข็ม โดยใช้โปรแกรมที่พิมพ์ตอนนั้คือ เวิร์ดจุฬา

 


ใครสนใจลองไปอ่านประวัติกันดูได้ครับที่ Link ทำไว้ที่ชื่อแล้ว


          หน้าจอดำๆ ตัวหนังสือ หลากสีสันเหลือเกิน ในหน้าจอง่ะนะ แต่พอพิมพ์ออกมาก็เป้นตัวสีดำสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยดี นั้นคือที่ผมเริ่มเข้าใจคำว่า Fonts และเป็นเหตุผลให้สนใจในคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ยุคแรกๆ เพราะว่า มันเท่ดีเวลารายงานไปส่งครูที่โรงเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์มา และอยากเปลี่ยน Fonts ให้มันสวยงามหลายๆ แบบ

          พอโตขึ้นมาและได้เลือกเรียนทางด้านศิลปะ ก็นี้ไม่พ้นเรื่องตัวหนังสือ อักษรต่างๆ ในช่วงนั้นมีการต้องใช้ตัวหนังสือเยอะในเรื่องของการเขียนแบบ หรือ design ผลิตภันณ์ต่างๆ และต้องมี detail sketch ของ idea ต่างๆของเราที่เรานำมาออกแบบ มันต้องเขียนตัวหนังสือเยอะมากมายไปหมดเลย บางครั้งก็เขียนสวย บางครั้งก็เขียนไม่สวย ปกติก็เป็นคนลายมือไม่สวยอยู่แล้ว จนเริ่มมีการใช้แบบตัวอักษรสำเร็จรูปที่เป็นไม้บรรทัดและมีเครื่องมือในการลากเส้นตาม พยายามนั่งนึกและหารูปตั้งนานหาไม่เจอว่ามันเรียกว่าไร หน้าตาง่ะพอนึกออก นานมากแล้ว จะเป้นไม้บรรทัดคล้ายๆ สเกล แต่มีตัวหนังสือที่เป็นร่องลึกไว้สำหรับใช้ เครื่องมืออะไรสักย่างของชุดเขียนแบบของ ล็อตติ่ง ในการจับปากกาแล้วลากตามร่องลึกนั้นแล้วปากกาก็จะเขียนตามแบบไปเอง สวยงาม….พอเข้าใจไหมครับ แล้วมันจะมีหลายแบบหลายขนาดทำออกมาเราก็บ้าซื้อกันเพราะว่าตัวหนังสือจะได้มีหลายๆแบบสวยงาม เหอๆๆ …นั้นก็เรียกว่า Fonts

          พอเข้าสู่ยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์ ผมก็หักเหตัวเองไปเรียนทางด้านออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยและหน้าที่การงานในอนาคต มุ่งเข้าสู่เมืองมหานคร ไปตอนเรียนตอนแรกงานชิ้นที่ทำออกมาผมใช้การระบายสีด้วยมือไปส่ง อาจารย์ ตอนนั้นเป็นงาน ออกแบบโปสเตอร์อะไรสักอย่างนี้ล่ะจำไม่ได้ แต่เพื่อนรวมห้องตอนนั้นใช้คอมออกแบบมาส่งแล้ว รู้สึก อายเพื่อนๆ เพราะว่าใช้มือระบายสีมันก้มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งในเรื่องของ ภาพที่ดูไม่สมจริง ตัวหนังสือที่เขียนไม่สวย และความรวดเร็วในการทำงาน

          ก็เลยไปอ้อนคุณแม่ บอกถึงความจำเป็นจริงๆ คุณแม่ให้เงินมาซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของตัวเองในชีวิต ด้วยราคาเกือบ 60,000 บาท ซื้อเองกับมือทุกชิ้นแยกเป็นชิ้นแล้วมาให้น้าประกอบ ได้ Pentium 3 500 Hz กับ RAM 128 MB และ VGA GF2 ซึ่งทุกวันนี้เครื่องนี้ยังไม่พังเลยยังใช้งานได้อยู่แต่ ปลดระวางแล้วเพราะความเร็วที่ต่ำและบริโภคไฟสูงมาก ฮ่าๆ ตอนได้เครื่องมาใหม่ก็ซุกซนมาก รื้อๆ ถอดๆ ลองโปรแกรมโน่น โปรแกรมนี้ ลง OS เอง ประกอบเอง จนคล่องและเป็นเครื่องครูของผมเลย เคยทำมันพังไปครั้งเพราะว่าไฟมันช็อด บอร์ดพังเลยดีนะอยู่ในประกันเอาเครมได้ไม่งั้น มีเศร้ายาว พอได้เครื่องมาก็เริ่มฝึกฝนใช้โปรแกรมจนคล่อง สมัยนั้นไม่มีหนังสือ ไม่มีผู้รู้มากนัก การเรียนรู้จึงเป้นเรื่องของการฝูมฝักลักจำ จากคนที่ใช้งานเป็นแล้ว เช่น ร้านอินเตอร์เน็ตหน้าโรงเรียน ร้านรับ print งานหน้าโรงเรียน นั่งดูรุ่นพี่ทำงานและสอบถามเป็นบางครั้ง จงจำไว้ว่ามนุษย์นั้น ถ้าเราไปสอบถามเค้ามากๆ เค้าจะลำคาญ แต่ถ้าเรานั่งดูและค่อยลักจำไปเองแล้วไปลองทำแล้วเกิดปัญหาจึงค่อยมาปรึกษา เค้าจะให้คำตอบมากกว่าไปนั่งถามเค้าว่า “ทำอย่างไง” “ขั้นตอนเป้นไง” เค้าจะไม่ค่อยอยากบอกหรือขี้เกียจจะบอก เราลองลงมือทำเองก่อนจะเรียนรู้ได้ไวกว่า นี้คือเหตุผลหนึ่ง ที่ตัวผมนั้นจะชอบลงมือทำเองมากกว่าทุกอย่างที่ตัวเองทำได้ ถ้ามีปัญหาแล้วเราถึงค่อยไปปรึกษาคนที่รู้แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีความรุ้มาล่วงหน้าเลยนะครับ เราต้องรู้จักศึกษาหาข้อมูลและความรู้ ทดลองมาก่อนแล้วด้วย..

          แล้วมันเกี่ยวกับ Fonts อย่างไงฟ่ะ? ฮ่าๆ คนที่อ่าน (ถ้ามีนะเหอๆๆ) คงจะกำลังนึกอยุ่ว่าเล่ามาตั้งนานยังไม่เห้นเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย “Fonts ปัญหาโลกแตกของนักออกแบบในเครื่องคอมพิวเตอร์” นี้ล่ะครับกำลังจะเริ่มเล่าแล้วหลังจาก ออกทะเลไปถึงอเมริกาแล้ว ฮ่าๆๆ เรื่องของ Fonts ของผมมันเริ่มจากตามที่เล่านั้นล่ะ คือเราเรียนด้านออกแบบและศิลปะมาตอนยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไปเช่าใช้ตามร้านและลักจำมาเยอะใช้จนพอเป็นแล้ว แล้วพอได้คอมเครื่องแรกมาเราก็เข้าใจว่า Fonts ที่เราเคยหัดทำมาจากร้านคอมพิวเตอร์นั้น คงจะมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยู่แล้วมั่งพอได้คอมพิวเตอร์มาเปิดเครื่องทำงาน และเริ่มออกแบบ ……”อ้าว Fonts ไปไหนหมดวะไม่เห็นมีเลยมีอยู่หยิบมือเอง????” นั้นคือปัญหาเริ่มต้น เก็บปัญหาคับข้องใจนี้ไว้ตอนเช้ารีบดิ่งไปร้านคอมพิวเตอร์หน้ามหาลัยเจ้าประจำ ถามเค้า “พี่ครับทำไมคอมผมไม่เห็นมี Fonts เหมือนร้านพี่เลยละครับ” เค้าตอบ “อ้อน้อง Fonts มันต้องติดตั้งเองครับไม่มีมาให้” อ้อ….ผมถึงได้บางอ้อว่า Fonts นั้นเราต้องหามาเองนี้เอง

          พอตกเย็นผมก็นั่งรถไป พันทิพย์ แหล่งอโคจร ทันที ที่ว่าแหล่งอโคจรเพราะว่าทุกสิ่งที่เกี่ยวกับของละเมิดลิขสิทธิ์ และผิดกฏหมายอยุ่ที่นั้นหมดเลย ในเมื่อผมต้องการไปหา Fonts และโปรแกรมต่างๆ ก็ต้องไปซื้อหาแผ่นที่นั้น ไปถึงก็เลือกๆ โดยไม่รู้มันเป็นไงมั่งใช้ไง รู้แต่ว่าเอามาลองก่อนน่าแล้วคงเข้าใจเอง พอกลับมาถึงห้องพัก ก็จัดการ copy Fonts ในแผ่นลงไปที่ เครื่องคอมพิวเตอร์เลยแบบตรงๆ ปรากฏว่าเปิดโปรแกรมทำงานขึ้นมา โปรแกรมยังมองไม่เห็น Fonts อีก…..นั่งลองอยู่ตั้งนานก็ยังไม่ได้ เก็บคำถามไว้ในใจต่อ ไปถามพี่เค้าวันรุ่งขึ้น “อ้อน้อง มันต้องลงให้ถูกวิธีด้วย โดยการ install News Fonts ให้ถูกต้องเครื่องมันถึงจะรู้จัก Fonts” อ้อ…….ผมก็เลยบางอ้ออีกครั้ง กลับมาห้องลองทำดู อ่า…สำเร็จโปรแกรมสามารถมองเห็นและใช้งาน Fonts ที่ลงไปใหม่ได้แล้ว ก็นั่งทำงานออกแบบไปอย่างสบายใจจนเสร็จ เอาไป print ที่ร้านแล้วก็เอาไปส่งอาจารย์ แต่…..

          พอไปส่งอาจารย์ อาจารย์ตำหนิมาอย่างแรงว่า “สระลอย” ???????? คือไรวุ้ย อาจารย์ก็อธิบายให้ว่า สระลอย คือการที่ สระและวรรณยุกต์ ต่างๆ ในภาษาไทยนั้นอยู่ในส่วนที่สูงเกินไปของข้อความ ทำให้ในทางออกแบบแล้วดูไม่สวยงาม และเป็นข้อผิดพลาดที่ นักออกแบบยึดถือกันมากๆ ซึ่งเกิดจากการที่คอมพิวเตอร์นั้นถูกออกแบบมาโดยภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาอังกฤษนั้นจะไม่มีสระและวรรณยุกต์ แต่พอมาเพิ่มภาษาไทย ภาษาไทยนั้นมีความซับซ้อนในเรื่องของการผสมสระและวรรณยุกต์มาก ที่เป็นปัญหาเลยคือการซ้อนกันของ สระและวรรณยุกต์สองตัวเช่น “นั้น” “อิ่ม” “สิทธิ์” เป็นต้น จะเห็นได้ว่า มี สระและวรรณยุกต์ ซ้อนกันสองตัวทำให้การเขียนโปรแกรมเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่วางสระและวรรณยุกต์ ทับกันจนอ่านไม่ได้ จึงจำเป็นต้องให้ “วรรณยุกต์” นั้นขึ้นไปอยู่สูงสุดเสมอแม้มีแค่ตัวเดียว เช่น “ถ้า” “ว่า” “จ๋า” เป็นต้น

          แล้วทำไมถึงเรียกว่า “สระลอย” ว้า ทั้งที่จริงๆแล้วสิ่งที่ลอย คือ “วรรณยุกต์” ต่างหากฮ่าๆๆ ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน ในตอนนั้นสิ่งที่แก้ปัญหาของการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์นั้น มีคนเขียนโปรแกรมออกมาแก้ไขตั้งหากสำหรับ บริษัท ห้างร้านที่ทำงานด้านออกแบบและสิ่งพิมพ์ที่รู้จักกันกว้างขวางเลยคือ ชุดโปรแกรม “ก.ไก่ 2000” หรือในปัจจุบัน kokai ก็ยังมีอยู่ ซึ่งเป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์ เคยไปถามซื้อในตอนนั้น ราคาสุงมากถึง 4000-5000 บาท คงจะเอามาใช้ไม่ไหวสำหรับนักศึกษาอย่างเรา จนผมค้นพบวิธีทำให้สระไม่ลอยแบบง่ายๆ จากใครผมจำไมได้จริงๆ ว่าใครเป็นคนสอนผม นั้นคือการพิมพ์ “รหัสของตัวอักษร” ลงบนคีย์บอร์ดตามสระที่มีอยู่ในเครื่องแบบตายตัวทุกเครื่อง คือ กดปุ่ม Alt บนคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วกดตัวเลขด้านขวามือของคีย์บอร์ดตามแล้วปล่อยปุ่ม Alt ที่กดค้างไว้ตัวสระและวรรณยุกต์ จะขึ้นมาแล้วจะขึ้นมาในตำแหน่งที่ถูกต้องโดยไม่มีการกลายเป้น “สระลอย” แต่อย่างใด วิธีกดก็ตามตารางข้างล่างนี้

 

 สระและวรรณยุกต์  อ่านว่า  วิธีกด
 ่  ไม้เอก  Alt+0139
  ้  ไม้โท  Alt+0140
  ๊  ไม้ตรี  Alt+0141
  ๋  ไม้จัตวา  Alt+0142
 ก์ การันต์  Alt+0143

 

 

          นั้นคือวิธีแก้ที่ประหยัดและง่ายที่สุด แต่…ถ้ามีตัวหนังสือเยอะก็กดกันมือหงิกเลยที่เดียว …แต่พอเวลาผ่านมาก้มีนักพัฒนา ทั้งโปรแกรมเมอร์และนักศึกษาด้านวิศวะคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็ได้พัฒนาโปรแกรมแบบที่ใช้ได้ฟรีออกมาเยอะมากมายให้ได้ลองใช้ ผมก็ได้ลองใช้หลายเจ้า จนได้ถูกใจคือ Gazib.com ReVowel ซึ่งใช้ฟรี พัฒนาโดยคุณ เชาวลิต กรพิพัฒน์ ซึ่งสามารถแก้ไขทั้งประโยคได้เลยโดยการนำข้อความไปวางในโปรแกรมแล้วกดให้ทำการแก้ไข ก็จะแก้ให้เองและนำมาวางในโปรแกรมที่เราใช้งานอยู่

 

          ซึ่งพอระยะเวลาผ่านมาเรื่อยๆ การเริ่มแก้ปัญหาที่ถูกจุดก็เริ่มได้รับการแก้ไขจากต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง นั้นคือ การเขียนโปรแกรมและเข้ารหัส Fonts ให้ถูกต้องตั้งแต่แรกนั้นเอง….

          Fonts ภาษาไทยนั้น แต่ก่อนนั้นถูกออกแบบโดยการเข้ารหัสแบบ ASCII ซึ่ง การเข้ารหัสแบบ ASCII นั้น อักขระไทย จะถูกแทนที่อักขระลาตินที่ไม่มีการใช้งานมากนัก เนื่องจาก เทคโนโลยีในสมัยนั้นการเข้ารหัสตัวอักษรจะมีเพียง 8bit หรือมีได้ 256 อักขระ จึงมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่อักขระ 128 อักขระช่วงหลังเป็นการชั่วคราว ซี่งประเด็นนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะของอักษรไทยเท่านั้นแต่เป้นปัญหากับทุกภาษาทำให้ไม่สามารถใช้งานภาษาต่างๆ ได้พร้อมๆกัน แต่ในภายหลังได้มีการเข้ารหัสแบบใหม่นั้นคือแบบ Unicode ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและจัดระเบียบของ Fonts ทุกภาษาให้สามารถใช้งานได้ทุกภาษา Unicode เป็นการสร้างแก้ไขปัญหาข้อพิพาทการใช้งานของอักขระหลายชาติในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อตกลงแบ่งแยกพื้นที่อย่างชัดเจนให้แต่ละชาติ แต่ละภาษา นอกจากนี้ยังทำให้สามารถใช้งานหลายภาษาร่วมกันได้ซึ่งตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมาได้มีการรองรับการใช้งาน Unicode ใน OS ต่าง ๆ รวมถึง โปรแกรมใช้งานต่าง ๆ ก็ได้หันมาใช้งาน Unicode และในขณะนี้ Unicode ก็ได้เป็นมาตรฐานสากลหรือ ISO แล้ว ส่วน Thai Fonts ที่เป็น Unicode นั้นในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย โดยมีทั้งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ขายและ เจ้าของลิขสิทธิ์ให้ใช้งานกันโดยไม่คิดมูลค่า

          ความเป็น unicode ทำให้แลกเปลี่ยนเอกสารระหว่าง platform ต่างๆ ที่สนับสนุนเป็นความจริงได้แต่ unicode ไม่ backward compatible กับโปรแกรมที่ไม่สนับสนุนในกรณีที่ไม่ใช่ตัวอักษรภาษาอังกฤษพื้นฐานความเป็น opentype ช่วยให้ฟอนต์ฉลาดขึ้น ซืึงก็ขึ้นกับ “โปรแกรม” ที่เขียนฝังลงไปในฟอนต์ opentype ตอนที่สร้าง เช่น ปรับระดับสระ วรรณยุกต์ได้เองเหมือนกับที่ TSP, Kokai ทำ หรือการปรับ kerning และเลขเศษส่วน เป็นต้น จริงๆ เราประยุกต์ได้เยอะมากๆ ครับ ความเป็น opentype ทำให้มีโอกาสที่จะดีไซน์ฟอนต์ที่ ฉลาด มากขึ้น ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้ตรงกับที่ต้องการมากยิ่งขึ้นอีก

ตัวอย่าง..
          คุณทำงานกับไฟล์งานของ Adobe CS2 ที่ใช้กับฟอนต์ DB X ทำให้คุณเอาไฟล์นั้นไปเปิดในเครื่อง PC ที่มี Adobe CS2 ของ windows + DB X font ตัวเดิม ได้เลย ไม่ผิดเพี้ยน ปวดหัวน้อยลงเยอะครับ… และทั้งหมดก็ปรับวรรณยุกต์ สระ และที่ควรจะเป็นในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อยู่แล้วครับ ยกเว้นตัดคำ เพราะไม่ใช่เรื่องของ font ครับผม

เครดิต คุณ Jedt3D
http://www.freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=11682

          สำหรับโปรแกรมสมัยใหม่อย่างเช่น Adobe CS ต่างๆน่ะครับ ต้องใช้ Font Unicode เท่านั้น (ภาษาไทย) เพราะว่าการเข้ารหัสแบบ ASCII เนี่ยมันไม่เจ๋งพอ (Unicod คือการเข้ารหัสตัวละ 2 Byte ซึ่งสามารถบรรจุตัวอักษรได้มากถึง 65,000 กว่าตัว ลงใน Font Family เดียวกันได้) โปรแกรม MS Office ให้ใช้ฟอนต์ในโฟลเดอร์ OF ส่วน โปรแกรม PageMaker ให้ใช้ฟอนต์ในโฟลเดอร์ SP และโปรแกรม Photoshop, Illustrator, และ Corel Draw ให้ใช้ฟอนต์ในโฟลเดอร์ AD

          การติดตั้งฟอนต์สำหรับโปรแกรม Adobe Illustrator และ Photoshop?นอกจากจะติดตั้งตามวิธีมาตรฐานโดย install ผ่านทาง control panel แล้ว อาจติดตั้งตามวิธีต่อไปนี้ได้:
          1. copy ฟอนต์ทั้งหมดจาก แผ่นซีดี โดยเลือกจากโฟลเดอร์ for AD
          2. paste ฟอนต์ลงในโฟลเดอร์ “Fonts” ของ “Program files” ใน drive C ตาม directory ต่อไปนี้: c:\Program files\Common files\Adobe\Fonts

          แต่ถ้ามีฟอนต์อะไรแล้วลงหมดเครื่องคุณจะช้านะครับ..ควรหาโปรแกรมจัดการฟอนต์อย่างเช่น Suitcase หรือ ATM

          สรุป…Font ทั่วไปจะมีการเข้ารหัสอยู่สองแบบ คือ Ascii กับ unicode เอาเป็นว่า รุ่นเก่าใช้ ASCII รู่นใหม่ ใช้ Unicode ดังนั้นหากคุณใช้ Photoshop CS2 หรือ Illus CS ขึ้นไป จำเป็นต้องใช้ Font ที่มีการเข้ารหัสเป็น Unicode ถ้าไม่ใช้ font ที่มีการเข้ารหัสดังกล่าวแล้วเวลาพิมพ์ภาษาไทยจะเป็นเครื่องหมายคำถามไม่ก็ สี่เหลี่ยม ***ย้ำ Photoshop ต้องเริ่มที่ CS2 ส่วน Illustrator เริ่มที่ CS เฉยๆ ถึงจะ support unicode และถ้าคุณใช้ Photoshop CS เฉยๆ ยังต้องใช้ฟอนท์แบบเก่าอยู่ แล้วก็มีปัญหากับ ญ ก็ยังมีอยู่เช่นกัน

เครดิต ขอขอบคุณข้อมูลจากเป็นอย่างสูงครับ
http://www.macdd.com/macddv3/index.php/component/myblog/Thai-Free-Fonts.html

http://tungblog.atikomtrirat.com/2009/01/font-opentype-unicode.html

          ยิ่ง ณ ปัจจุบัน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กำหนดให้ หน่วยงานราชการและรณรงค์ให้ คนไทยใช้ฟอนต์ไทยสารบรรณ และ 13 ฟอนต์แห่งชาติ O_O เพื่อความเป็นไทย และให้ ดาว์นโหลด ได้ฟรีเพื่อนำไปติดตั้งและใฃ้งานในเรื่องของเอกสารต่างๆ  ก็เลยมาเล่าให้ฟังในนี้ หลังจากไม่ได้เข้ามาซะนานเพราะว่าที่ทำงานใหม่นั้นไม่มี internet ให้ใช้ พอกลับมาบ้านทีและพอมีเวลาก็จะนำเรื่องมาเล่าให้ฟัง ไว้คราวหน้าถ้ามีเวลาว่าง อยากจะเล่าถึง อุดมการณ์และประสบการณ์ต่างๆที่เจอมาให้ฟังไว้รอโอกาสเหมาะก่อนนะครับ วันนี้ต้องขอตัวไปก่อนละเดินทางกลับไปทำงานต่อที่ เสิงสาง จ.นครราชสีมา ลาละครับ สวัสดีครับ

ครูหนุ่ม 2011-08-07

ปิดความเห็น บน Fonts ปัญหาโลกแตกของนักออกแบบในเครื่องคอมพิวเตอร์ more...

Looking for something?

Use the form below to search the site:

Still not finding what you're looking for? Drop a comment on a post or contact us so we can take care of it!

Visit our friends!

A few highly recommended friends...