จะซื้อ Flash จะเลือกอย่างไงดีให้เหมาะกับเรา E-TTL?? ตาแมว( slave flash)?? ( S1 , S2 )?? Guide Number(GN)?? wireless flash triggers ? คืออะไร
by admin on เม.ย..25, 2013, under ครูหมีสอนศิลปะ
เรื่องเริ่มจากพอดีกำลังจะหาซื้อ Flash สำหรับกล้อง canon 60D มาใช้ในการถ่ายภาพเพื่อให้ภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ที่นี่ก่อนจะซื้อก็ต้องศึกษาหาความรู้กันก่อนทั้งเรื่องของ รุ่น ค่าย ราคา และคุณสมบัติ ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายรุ่นจริงๆ ตั้งแต่ราคา 2,000-เกือบ 20,000 บาท ฉะนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าจะเดินเข้าไปที่หน้าร้านแล้วถามซื้อโดยที่ไม่รู้อะไรเลย อาจจะโดนฟันหัวแบะเอาได้ง่ายๆจากร้านที่ดันของแพงและเกินความจำเป็นให้กับเรา
โดยส่วนมากรุ่นของ Flash จะแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของ Flash รุ่นนั้นๆ ซึ่งจะแพงขึ้นตามความสามารถที่ Flash รุ่นนั้นๆจะสามารถกระทำได้ และตามมาด้วย ยี่ห้อ หรือค่ายของ Flash ว่าเป็นของค่ายไหน ซึ่งถ้าเป้นค่ายหรือยี่ห้อดังๆ ก็จะแพงขึ้นไปตามลำดับ บางอย่าง บางรุ่น มีคุณสมบัติและความสามารถที่เท่ากันเลย แต่ แตกต่างกันที่ชื่อยี่ห้อหรือค่ายก็จะแพงขึ้นมากมายถึงระดับ 2-3 เท่าตัวเลยที่เดียว อันนี้ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ในกระเป๋าของผู้ซื้อว่าจะสามารถรับได้ที่ราคาไหน
ระหว่างกำลังเลือกซื้อนั้นก็เจอกับ รหัส หรือ code เฉพาะ คำเฉพาะต่อท้ายรุ่นของ Flash ต่างๆมากมายทำให้งง คำที่เจอแล้วเกิดความสงสัยคือ E-TTL?? ตาแมว( slave flash)?? ( S1 , S2 )?? Guide Number(GN)?? wireless flash triggers ?? คำเหล่านี้บางคำก็เป็นตัวย่อซะอ่านไม่เข้าใจ บางคำก็เป็นคำอ่านได้พอเข้าใจแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ยกตัวอย่างเช่นผมกำลังจะเลือกซื้อ Flash 1 ตัว และเค้ามีคำอธิบายไว้ว่าดังนี้
“แฟลช E-TTL สำหรับกล้อง Canon และ Nikon (โปรดเลือกทางด้านล่าง) กำลังไฟของแฟลช GN 58 ที่ ISO 100 เป็น Slave แบบ Auto TTL แบบไร้สายได้ รองรับ High Speed Sync 1/8000 และเป็น Slave Manual หรือตาแมวโดยใช้ ( S1 , S2 ) ยิงไฟแฟลชเต็มกำลัง ใช้ระยะเวลาชาร์จไฟเพียง 3 วินาที YN-568EX รุ่นใหม่ขาแฟลชเป็นขาเหล็กแข็งแรงไม่แตกหักง่าย มาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลแบบ LCD พร้อมไฟส่องสว่าง แสดงรายละเอียดขนาดใหญ่ ปรับชดเชยกำลังแฟลช -5.0 ถึง +5.0 EV มีระยะช่วงซูมตั้งแต่ 24-105 mm ทั้ง Auto zoom และ Manual zoom มีระบบ Multi Flash ยิงแสงแฟลชได้มากกว่า 1 ครั้ง พร้อมไฟช่วยโฟกัสด้านหน้าตัวแฟลชและยังมีเสียงเตือนเมื่อพร้อมใช้หรือชาร์จไฟเต็มกำลัง”
อ่านครั้งแรกถึงกับงงไปเลยที่เดียวอะไรจะมากมาย คุณสมบัติเยอะแยะไปหมด แล้วอะไรมันคืออะไร แล้วที่ว่ามาทั้งหมดนี้สรุปว่าดีใช่ไหม????? ก็เลยเริ่มค้นหาความรู้จากใน internet และสอบถามกับผู้รู้โดยตรงว่าข้อมูลที่ไ้ด้รับมาถูกต้องไหม พอได้รู้และเข้าใจทุกอย่างแล้วก็เลยเสียดายความรู้นั้นๆ ถ้าจะเก็บไว้คนเดียวและเผื่อไว้ในอนาคตถ้าได้กลับไปสอนนักเรียนอีกก็จะได้ใช้บทความนี้ในการนำเสนอเลย เชิญอ่านและชมได้เลยครับ
ก่อนอ่านต่อบทความหลังจากนี้เป็นการรวบรวมความรู้มาจากที่ต่างๆ ใน website ต่างๆ Pro ต่างๆ และท่านที่มีความชำนาญและได้ให้ความรู้ไว้ ผมนำมารวบรวมไว้ให้ใน ณ ที่นี้แล้ว
อันดับแรกที่เจอก่อนเลยคือ “E-TTL” ซึ่งมักจะอยู่หลังชื่อรุ่นและในคำอธิบายคุณสมบัติขั้นต้นเลยและมีคนถามถึงกันมากเวลาจะเลือกซื้อสำหรับคนรุ้แล้ว แต่คนไม่รู้ งงสิ คือไรว้า ลองอ่านจากบทความข้างล่างนี้ก็จะเข้าใจในทันที
บทความนี้เป็นบทความคัดลอกมาจาก http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=27806 โดยคุณ หนก บางหลวง เพื่อการศึกษาต้องขออนุญาตและขอขอบคุณมากในโอกาสนี้
ระบบวัดแสงแฟลชผ่านเลนส์ E-TTL II และ High speed sync
ถึงตอนนี้จะไม่มีกล้องหนอนให้ใช้แล้วก็ตามที แต่ก็ยังมีความรู้เรื่องของหนอนมาเล่าสู่กันฟังสิ่งหนึ่งที่หลายคนค่อนข้างปวดหัวกับมันมากก็คือระบบแฟลช เพราะแฟลชเองถูกนับเนื่องเข้ามาเป็นอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพโดยเฉพาะในงานพิธีที่แสงธรรมชาติไม่มากพอหรือไม่มีทิศทางพอ รวมไปถึงใช้เพื่อสร้างผลพิเศษบางประการหรือเพื่อให้ภาพดูดีและสมบูรณ์ด้วยการลบเงา ดังนั้นแฟลชจึงเป็นได้ทั้งแสงหลักและแสงเสริม สุดแล้วแต่จะนำมาใช้งานอย่างไรแฟลชในยุคก่อนนั้นจะเป็นแฟลชที่ไม่ได้มีกลไกอะไรมากมายนัก นอกเสียจากวงจรสำหรับสร้างไฟฟ้าแรงดันสูงเข้าไปชาร์จเก็บไว้ในคอนเดนเซอร์ และวงจรสำหรับทริกหลอดแฟลชตามจังหวะที่ชัตเตอร์ทำงาน การใช้งานแฟลชในสมัยก่อนจึงจำเป็นต้องรู้ว่าค่าGNมีค่าเท่าไหร่ ( flash guide no. = ระยะทาง คูณด้วย ค่า f/stop ) ผู้ถ่ายจึงจำเป็นต้องทราบระยะทางระหว่างsubjectกับแฟลช แล้วจึงปรับf/stopให้เหมาะสม ( f/stop = GN หาร ระยะทาง )userจึงต้องการแฟลชที่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น,ชาร์จเร็วขึ้น,สว่างขึ้น การพัฒนาระบบการวัดแสงแฟลชผ่านเลนส์หรือTTL จึงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ในอดีตนั้นแฟนหนอนพันธุ์แท้น้อยคนนักที่ชื่นชมระบบแฟลชของCanon เพราะระบบแฟลชTTLของCanonนั้นมักจะให้ผลลัพท์ที่ไม่เป็นที่ถูกใจและคาดเดาได้ยาก ทั้งๆที่CanonเองพัฒนาระบบAFและระบบการทำงานของกล้องไปอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาระบบแฟลชของCanonเองกลับเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่ค่อยถูกใจผู้ใช้มากนักระบบวัดแสงแฟลชTTL ของCanon ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว น่าจะเริ่มกันที่ระบบ A-TTL ซึ่งระบบนี้ก็ยังมีปัญหาหลักๆของมันก็คือยังขาดความแม่นยำ เพราะหากปล่อยให้มันทำงานตามอำเภอใจ ภาพมักจะมีแนวโน้มที่จะออกไปทางoverเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการถ่ายในงานพิธีที่ฉากหลังมืด แม้บางครั้งuserสั่งunder compensateไปแล้วก็ตาม subjectก็ยังติดoverอยู่ดี ใครที่ใช้งานจนคุ้นเคยกับมันดีก็คงจะทำใจกับมันได้ ซึ่งยังดีที่สมัยก่อนถ่ายกันด้วยฟิล์มnegativeเสียเป็นส่วนใหญ่ หนักนิดเบาหน่อยยังแก้กันตอนอัดได้ ที่สำคัญoverสักนิด ฟิล์มnegativeยังมีเนื้ออยู่ อัดได้สบายๆ
ระบบวัดแสงแฟลชE-TTL ก็ได้รับการพัฒนาตามมา โดยในEOS3 ซึ่งเป็นกล้องฟิล์มระดับsubpro เป็นกล้องรุ่นแรกๆที่เปลี่ยนมาใช้ระบบวัดแสงแฟลชแบบE-TTL ซึ่งระบบนี้จะกล่าวคร่าวๆคือ กล้องจะสั่งให้แฟลชยิงpreflashออกมาเป็นชุดๆ เมื่อsensorในกล้องคำนวณสภาพแสงแล้วจึงสั่งให้แฟลชส่งmain flashออกมา ( รายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมด โปรดอ่านจากในกระทู้นี้ซึ่งคุณjojosungได้รวบรวมมาไว้ให้นะครับ ) อย่างไรก็ตามการคำนวณผลแฟลชระบบใหม่นี้มีความจำเป็นต้องใช้งานร่วมกับแฟลชระบบใหม่ที่สนุบสนุนpreflashแล้วยังมีพลังเหลือมากพอจะปล่อยmain flashได้ด้วย แฟลชในตระกูลEZเดิมจึงไม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบวัดแสงแฟลชแบบใหม่นี้ได้ ทำให้Canonต้องพัฒนาแฟลชตระกูลEXมาเพื่อใช้งานควบคู่ไปด้วยกัน
ระบบวัดแสงแฟลชแบบE-TTLในEOS3นั้นก็ค่อนข้างจะมีปัญหาในเรื่องค่อนข้างจะติดunder ซึ่งผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาเอาเองว่าจะต้องทำอย่างไรกับสถานะการณ์ต่างๆ ระบบแฟลชE-TTLยังคงถูกใช้งานต่อมาเรื่อยๆจนกระทั่งกล้องdigital SLRเริ่มเข้ามามีบทบาทในโลกการถ่ายภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว สามารถลองผิดลองถูกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอล้างฟิล์มมาก่อนเหมือนเช่นเดิม ระบบE-TTLเองก็ยังไม่ถึงกับจะเรียกว่า”ดี”ได้เต็มที่นัก หากจะบอกว่าผู้ใช้ยังคงจะต้องเรียนรู้การใช้งานมันอยู่อีกพอสมควร ถึงแม้ว่าจะไม่มากเหมือนกับA-TTL แต่กระนั้นก็ยังต้องออกแรงเพิ่มขึ้นอีก มันจึงไม่ใช่ระบบแฟลชที่สามารถยกขึ้นแล้วยิงได้เลย ดังนั้นมันจึงสวนทางกับการพัฒนากล้องของCanonพอสมควร เพราะกล้องของCanonนั้นจัดเป็นกล้องที่ถ่ายง่าย ยกขึ้นมาเล็งแล้วกดโดยที่userแทบไม่ต้องคิดอะไรมาก ภาพส่วนใหญ่ก็ยังออกมาได้อย่างพอดีๆซะเป็นส่วนใหญ่
Canonอาจจะเป็นนักวางแผนที่ดีมาก เพราะพระเอกของการควบคุมและคำนวณวัดแสงแฟลชนั้นจะอยู่ที่กล้องเป็นสำคัญ ในขณะที่แฟลชทำหน้าที่เป็นเพียงลูกมือที่คอยทำตามคำสั่งของกล้องเท่านั้น การพัฒนาระบบวัดแสงแฟลชจึงสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบแฟลชใหม่ให้เสียเวลา
เราจึงได้ก้าวเข้ามาใช้ระบบวัดแสงแฟลชระบบใหม่ล่าสุดซึ่งก็คือ E-TTL II ,สำหรับกล้องdSLRนั้น Canonเริ่มพัฒนาระบบ E-TTL II ใส่ลงไปในEOS 1D mkII เป็นครั้งแรกโดยที่แทบจะไม่ได้แย้มพรายถึงความแตกต่างอะไรจากระบบเดิมมากนัก นอกจากจะบอกว่ามีการใช้”ข้อมูลระยะทาง” ร่วมด้วย ซึ่งหลังจากที่มันออกมาใหม่ๆ userจำนวนมากถึงกับงุนงงในความแม่นยำของมัน ยกตัวอย่างเช่นถ่ายเสื้อสีดำโดยไม่ต้องชดเชยแสง ภาพที่ได้ก็ยังคงเป็นเสื้อสีดำที่ไม่ใช่เสื้อสีเทา รวมไปถึงถ่ายเสื้อสีขาว ก็ยังได้เสื้อสีขาวโดยไม่เป็นเสื้อสีเทา
เรื่องของระบบวัดแสงแฟลชE-TTL II อาจจะเป็นเรื่องที่พูดกันในหมู่Userมานานสักปีเศษๆเห็นจะได้ Canonจึงเพิ่งจะแย้มให้เห็นว่าE-TTL II มันมีแนวความคิดอ่านยังไง ในขณะที่ในคู่มือกล้องเองก็แทบจะไม่ได้บอกอะไรมากนัก คงจะนึกว่ามันถูกพัฒนาขึ้นมาถึงระดับที่เรียกว่า”point and shoot flash system”ไปแล้วมั๊ง
ระบบE-TTL II นั้นถูกออกแบบมาใช้งานใน2ลักษณะ คือ 1. การใช้งานในลักษณะเป็นแสงเสริม ซึ่งหากจะเรียกให้หรูสักหน่อยก็ต้องเรียกว่า Balance filled flash และ 2. การใช้งานในลักษณะเป็นแสงหลักในสภาพที่ไม่มีแสงธรรมชาติ
1. Balance filled flash นั้นระบบนี้มีแนวทางอย่างไร อันแรกเลยผู้ใช้จะต้องปรับกล้องไปที่ระบบวัดแสงแบบevaluative ( ซึ่งระบบวัดแสงธรรมชาติในโหมดนี้จัดเป็นระบบวัดแสงที่เรียกว่าฉลาดจนตามไม่ทัน ,เวลามันผิดพลาด เราจึงเดาไม่ถูกว่ามันจะผิดพลาดตรงไหน ,กรรม!, เพราะมันจะคำนวณพื้นที่ทั้งหมดในภาพ โดยจะทุ่มคะแนนส่วนหนึ่งให้แก่จุดตำแหน่งโฟกัส มันจึงถ่ายย้อนแสงแบบไม่โหดร้ายนักได้โดยแทบจะไม่ต้องชดเชยอะไรเลย ,เก่งวุ๊ย ) จากนั้นผู้ใช้จะต้องเข้าไปที่custom function ที่ว่าด้วย E-TTL II เพื่อเลือกระบบวัดแสงแฟลชโดยจะต้องเลือกที่ Evaluative ( default จากโรงงาน )แล้วระบบนี้มันทำงานยังไง ในโหมดกล้องที่เป็นAutoทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น green zone , P , Av ,Tv กล้องจะวัดแสงธรรมชาติ คำนวณ และบันทึกไว้ จากนั้นกล้องจะสั่งให้แฟลชยิงpreflashออกมา แล้วกล้องจะเอาข้อมูลแสงธรรมชาติมาคำนวณร่วมกับข้อมูลของpreflash หากแสงสภาพสิ่งแวดล้อมสว่างมากๆ มันจะสั่งให้main flashมีค่าที่มากพอที่จะกลมกลืนsubjectให้เข้ากับความสว่างของแสงสิ่งแวดล้อมได้ และแน่นอนหากสภาพสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมืด หรือทึมๆ มันก็จะสั่งให้main flashมีความสว่างเพียงพอที่จะทำให้subject กลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นsubjectจึงไม่สว่างโร่เหมือนตัดแปะลงไปบนฉากหลังที่มืดๆ ( หากจะใช้งานในสภาพแสงน้อยๆ โดยต้องการให้แสงแฟลชเป็นแสงเสริม ก็จะต้องใช้งานในลักษณะ slow speed sync. ) แล้วถ้าสภาพแสงมันปรวนแปรมากๆหละ เช่น มีเงาสะท้อนรบกวน หรือ มีสีที่สะท้อนแสงมากหรือน้อยวุ่นวายหละ เมื่อนั้นข้อมูลระยะทางที่ส่งมาจากเลนส์จะถูกนำมาช่วยให้การตัดสินใจของกล้องถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ( นี่แหละทำไมมันถึงถ่ายเสื้อสีดำแล้วยังเป็นสีดำอยู่ )แน่นอนครับ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะสมบูรณ์ครบถ้วน ระบบวัดแสงแบบนี้มันให้ความสำคัญต่อจุดโฟกัส เพราะตามalgorithmของการวัดแสงแบบevaluative มันจะเทคะแนนพิสวาทให้แก่จุดโฟกัสเป็นพิเศษ subjectจึงควรจะสถิตย์อยู่ ณ.ตำแหน่งกรอบโฟกัสที่เราเลือกใช้นั่นเอง หากไม่สามารถวางตำแหน่งนั้นนั้น การlockค่าแสงแฟลช( FE lock )ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
2. การใช้งานเป็นแสงหลัก โลกนี้ไม่เคยมีอะไรสมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้นCanonจึงสร้างmodeเอาไว้อีกmodeหนึ่งสำหรับใช้งานแฟลชเพื่อเป็นแสงหลักอย่างแท้จริง เพราะหากเอาระบบbalance filled flashไปใช้ถ่ายภาพในงานพิธีที่มีความสว่างของสภาพแวดล้อมต่ำหรือค่อนข้างมืด ผลที่ได้ก็คือsubjectก็จะต้องติดunderไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันแค่ต้องการจะfilled เท่านั้นการใช้งานในmodeนี้ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากไปกว่า ปรับระบบวัดแสงของกล้องไปที่ average (ซึ่งในโหมดนี้กล้องจะให้ความสนใจต่อความสว่างของภาพในส่วนกลางภาพเสียเป็นส่วนใหญ่) จากนั้นให้ปรับcustom functionที่ว่าด้วย E-TTL II ไปที่ Average และหากต้องการผลลัพธ์ที่แน่นอน ง่ายต่อการควบคุมก็ให้ปรับExposure modeของกล้องไว้ที่ M แล้วเลือกค่าช่องรูรับแสงให้เหมาะสมกับระยะทางระหว่างsubjectกับแฟลช หรือระดับความชัดลึกเท่าที่เราต้องการ อ้อ!ลืมไป ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่มากเกินกว่าshutter speed sync และไม่ต่ำเกินไปจนถือด้วยมือไม่ได้ ( ไม่ควรต่ำกว่า 1/60วินาที จะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพ ) แล้วระบบนี้มันทำงานอย่างไร ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างน้อยๆนั้น Mode M จะไม่สามารถบันทึกภาพได้อย่างพอดีอย่างแน่นอน แสงแฟลชจึงมีความจำเป็นสำหรับกรณีนี้ แฟลชก็จะทำงานตามหลักการพื้นฐานของมันก็คือ ปล่อยpreflash กล้องก็จะพิจารณาpreflash แล้วสั่งให้ยิงmain flash ( หากสภาพแสงยุ่งยากนัก ข้อมูลระยะทางก็จะถูกนำมาใช้แก้ปัญหาความผิดพลาดได้ ) เพียงแต่พื้นที่ที่จะถูกเอามาคำนวณนั้นจะเป็นส่วนพื้นที่ที่อยู่ในส่วนกลางของภาพตามลักษณะของการวัดแสงแบบaverage และไม่สนใจสภาพแสงของสิ่งแวดล้อมและเนื่องจากalgorithmของมันจะมุ่งเน้นวัตถุที่อยู่กลางภาพ หากหลังจากที่composeภาพแล้วทำให้subjectของเราไม่ได้อยู่กลางภาพ การทำFE lockเสียก่อนก็เป็นวิธีแก้ไขปัญหานี้ จากนั้นจึงcomposeภาพให้ได้ตามที่เราปรารถนา
เป็นอย่างไรบ้างครับ มันฉลาดกว่าเดิมจริงๆ มันทำให้ผมนึกไม่ถึงว่าCanonที่ผมใช้มันมาตั้งแต่ปี 2535 จะสามารถพัฒนาระบบแฟลชอัจฉริยะขึ้นมาได้ทัดเทียมกับคู่แข่งเสียที
ปัญหาที่ถามกันบ่อยๆเกี่ยวกับE-TTL II
ก็จะพอรวบรวมเป็นข้อสรุปดังนี้
1. E-TTL II เป็นระบบคำนวณแสงแฟลชของกล้องโดยมีกล้องเป็นผู้กำกับการแสดง และตัวแฟลชเป็นเพียงลูกมือ
2. หากถ่ายกลางแจ้ง แดดเปรี้ยงเพื่อทำbalance filled flash ให้เลือกปรับmodeกล้องไปที่auto , ปรับmodeวัดแสงไปที่ evaluative , ปรับcustom function ในหมวด E-TTL II ไปไว้ที่ Evaluative สวรรค์ก็จะบังเกิด
3. หากถ่ายภาพพิธี หรือในยามค่ำคืนที่ไม่ต้องการลักษณะของSlow speed sync. แต่ต้องการแสงหลักจากแฟลชเท่านั้น ก็ให้ปรับmodeกล้องไปที่ Manual , ปรับmodeวัดแสงไปที่ average และปรับcustom function ในหมวด E-TTL II ไปไว้ที่ Average และเมื่อนั้นสวรรค์จะบังเกิด
4. ข้อมูลระยะทางจากเลนส์จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อหัวแฟลชอยู่ในตำแหน่ง 0องศา คือยิงตรงไปยังวัตถุ (ซึ่งหลายๆคนหรือบางคนอาจจะไม่ชอบเพราะจะได้แสงแข็ง เงาแข็ง มิติแบน) หากทำการกระดกหัวแฟลชเพื่อทำการbounceกับเพดาน ข้อมูลระยะทางจะไม่ถูกนำมาใช้คำนวณ ( เพราะเหนือวิสัยที่กล้องจะบอกได้ ,คนถ่ายเองยังบอกไม่ได้เลยว่าจะสะท้อนลงมาแค่ไหน ) สิ่งที่เกี่ยวข้องที่เคยถูกละเลย เช่น สีของเสื้อผ้า ที่อาจจะสะท้อนแสงแฟลชมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็จะต้องถูกนำมาคิดด้วยประสพการณ์ของuserเองว่าจะปรับแก้flash exposureมากน้อยเพียงใด
5. แฟลช 580EX และ 430EX เท่านั้นหรือที่จะใช้กับE-TTL II ได้อย่างสมบูรณ์ ? หากอ่านบทความข้างต้นอย่างเข้าใจดีแล้ว เราก็จะพบคำตอบเองว่า”ไม่ใช่” เพราะข้อ1 ที่บอกแล้วว่า กล้องคือผู้กำกับ ส่วนแฟลชคือลูกมือ ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่เจ้าแฟลชหน้าใหม่ทั้ง 2ตัว มันคือสินค้ารุ่นใหม่ที่Canonออกมาเพื่อกรีดกระเป๋าของuserโดยบรรจงใส่สิ่งที่เหนือกว่า 550EX และ 420EX ได้แก่รูปร่างที่เล็กกระทัดรัดกว่าเดิม ( 550EXนั้นตัวใหญ่เกะกะกระเป๋ากล้องเอาการอยู่ ) เพิ่มค่าGuide Numberขึ้นมาอีกนิด , ประจุไฟได้เร็วกว่าเก่าอีกหน่อย ,เพิ่มของกระจุกกระจิกอีกหน่อย เช่น bounce cardใน580EX ฯลฯ, แต่สิ่งที่สร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้เกี่ยวกับการส่งค่าอุณหภูมิสีให้แก่กล้องนี่แหละ
การส่งค่าอุณหภูมิสีให้แก่กล้องมีความสำคัญอย่างไร และมีบทบาทตอนไหน
userส่วนใหญ่ชอบถ่ายภาพโดยตั้งทุกอย่างไว้ที่Auto เช่น Auto exposure , Autofocus , และ Auto White balance ปัญหาของAuto white balance ก็คงจะเป็นเรื่องที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ามันไม่มีความแน่นอน ยิ่งหากใช้แฟลชในสภาพที่มีแสงแวดล้อมหลากหลาย เช่น แสงหลอดทังสเตน หรือแสงหลอดฟลูออเรสเซนท์ ซึ่งต่างก็มีค่าอุณหภูมิสีที่ไม่เท่ากันกับแสงแฟลช ยกตัวอย่างที่เวลาถ่ายภาพงานพิธีที่ด้านหลังมีหลอดไฟทังสเตนดวงใหญ่ แล้วใช้แฟลชยิงไปที่subjectด้านหน้า อิทธิพลของแสงแฟลชที่มีอุณหภูมิสีอยู่แถวๆ 5600 -5800 องศาเคลวิน ในขณะที่แสงทังสเตนจะมีอุณหภูมิสีอยู่แถวๆ 2800-3300 องศาเคลวิน พอเจอเข้ากับautoWB. สีมันก็คงจะแปลกพิลึกดีนะครับ subjectใส่เสื้อขาวก็จะออกมาขาวอมเหลือง ฉากหลังที่เป็นแสงทังสเตนจะออกส้มอมเหลืองก็กลายเป็นเหลืองแปลกๆ สิ่งที่สำคัญก็คงจะเป็นเรื่องของสีของsubjectที่ไม่ได้เป็นไปตามที่เราต้องการให้ถูกต้องUserบางคนอาจจะไม่มองเรื่องนี้เป็นปัญหา เพราะว่าเขาอาจจะปรับค่า WB ไปไว้ที่ Flash ก็ได้ แต่ปัญหามันก็ยังไม่จบลงทีเดียวนัก เพราะการเลือกค่าWBไว้ที่Flashนั้นไม่ได้หมายความว่าค่าWBที่กล้องเลือกใช้นั้นจะเป็นค่าตายตัว เพราะsetting flash WBนั้น ก็คือAutoWBชนิดหนึ่ง แต่เป็นการกำหนดช่วงที่แคบลงมาให้อยู่ในช่วงของแฟลชนั่นเอง (หากถ่ายเป็นRaw file จะสังเกตได้ว่าค่า color temp ที่raw convertorอ่านมานั้นจะไม่ค่อยเท่ากันสักรูปเลย ) ซึ่งแน่นอนครับ สีมันอาจจะออกมาใกล้เคียงที่เราต้องการ แต่ก็ไม่คงที่นัก
Userบางคนก็เลยแก้ปัญหาด้วยการปรับค่าWB ไว้ที่ Kelvin โดยเลือกไว้ตายตัวที่ 5600 หรือ ค่าใดค่าหนึ่งระหว่าง 5600-5800 องศาเคลวินไปซะเลย ซึ่งวิธีการนี้ภาพส่วนใหญ่จะออกมาในลักษณะสีที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ใช่ว่าค่าอุณหภูมิสีของแสงแฟลชจะคงที่เสมอไป เพราะบางทีอาจจะถ่ายภาพโดยที่แฟลชยังประจุไม่เต็มที่ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วควรจะไม่น่ามีปัญหา แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ยังพบว่าอุณหภูมิสีของแสงแฟลชก็ยังมีการแกว่งอยู่บ้าง 580EXและ430EX จึงเป็นสินค้าที่ตั้งใจทำออกมาสำหรับกรีดกระเป๋าUserอย่างแท้จริง แต่มีเงื่อนไขในการใช้เช่นกัน คือ จะต้องตั้งค่าWB ไว้ที่ AutoWB หรือ Flash WB เท่านั้น ค่าอุณหภูมิสีที่แฟลชเด็ด2ตัวนี้ส่งออกมาจึงจะมีผลให้กล้องเอาไปใช้ได้แล้วก็ใช่ว่าจะหมดเพียงเท่านี้นะครับ เพราะเจ้าแฟลช2ตัวนี้ยังปรับหัวแฟลชให้ซูมเข้าออกautoตามขนาดของsensorของdSLRที่เราใช้ด้วย ปกติแล้วซูมหัวแฟลชจะautozoomตามเลนส์ตั้งแต่ช่วง24mm ไปถึง 105mm ผลของการซูมหัวแฟลชจะช่วยทำให้ค่าGNของแฟลชเพิ่มขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการบีบลำแสงแฟลชให้แคบลง ทำให้ความเข้มสว่างของแสงแฟลชเพิ่มขึ้นการใช้กล้องที่มีขนาดเซนเซอร์เท่ากับ APS-C ( FOV 1.6x ) หรือ APS-H (FOV 1.3x) มุมของแสงแฟลชที่ออกมาจากหัวแฟลชจะกว้างเกินความจำเป็นที่ต้องการใช้ เช่นใช้Canon 20D กับเลนส์ 50mm สำหรับแฟลชรุ่นเดิมนั้น ซูมหัวแฟลชจะปรับให้แสงแฟลชออกมาครอบคลุมพื้นที่ที่ถูกถ่ายด้วยเลนส์50mmจากกล้องฟูลเฟรม แต่20D+เลนส์50mm จะมีมุมรับภาพเทียบเท่ากับเลนส์80mmเท่านั้น ทำให้เราใช้งานแฟลชได้ไม่คุ้มกับความสามารถของมัน พอมาใช้580EXหรือ430EX แฟลชทั้งคู่มันจะสื่อสารกับกล้องและทราบว่ากำลังใช้ร่วมกับ APS-C sensor มันก็จะปรับหัวแฟลชไว้ที่ระยะ80mm ผลลัพท์จะทำให้ค่าGNเพิ่มขึ้นมาอีก ทำให้เราสามารถใช้แฟลชยิงได้ระยะไกลกว่าเดิมหากแต่ว่าuserที่เข้าใจดี ก็อาจจะปรับzoom flashไว้ที่manual แล้วปรับหัวแฟลชให้เข้ากับค่า FOV ของsensorกล้องของเรา แค่นี้550EXหรือ420EX ก็สามารถทำงานได้ทัดเทียมกันได้ เพียงแต่มันไม่autoเหมือนกับแฟลชรุ่นใหม่ๆ ยิ่งใช้กับซูมด้วยแล้ว จะต้องมาคอยปรับหัวซูมแฟลชตามระยะทุกคร้งไป ก็คงจะเหนื่อยอยู่บ้าง
6. High speed sync คืออะไรHigh-speed sync หรือ Focal-Plane highspeed sync เป็นความสามารถที่กล้องรุ่นใหม่ๆสามารถทำกันได้สบายๆแล้วในปัจจุบันโดยพื้นฐานของกล้องที่ใช้ชัตเตอร์แบบม่าน2ชุดวิ่งตามกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม การทำงานของม่านชัตเตอร์จะมีขั้นตอนเหมือนกันคือ
6.1 ม่านชุดแรกจะเปิดให้แสงเข้ามาสัมผัสกับฟิล์มหรือimage sensor เมื่อม่านชุดแรกเปิดออกจนสุด แฟลชก็จะยิงออกมา ( 1st curtain sync )
6.2 หลังจากที่ม่านชุดแรกเปิดจนสุดแล้ว ม่านชุดที่สองจะเริ่มขยับเพื่อไล่ปิดจนสนิท ( หากแฟลชไม่ได้ยิงออกมาในช่วงที่ม่านแรกเปิดสุด แต่มายิงในช่วงที่ม่าน2เริ่มจะปิด ก็จะเป็น 2nd curtain sync นั่นเอง )
การวิ่งของม่านชัตเตอร์ทั้ง 2ชุดนั้นจะมีจุดวิกฤตคือ จะมีค่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุดอยู่ค่าหนึ่งที่ม่านแรกเปิดกว้างสุดอยู่โดยที่ม่านสองยังไม่ปิดตัวลง หากเร็วกว่านั้นม่านสองจะเริ่มปิดตัวก่อนที่ม่านชุดแรกจะเปิดสุด ความเร็วสูงสุดหรือShutter speed syncจึงใช้ได้ไม่เร็วเกินความเร็ววิกฤตินั้น เพราะหากใช้เร็วกว่านั้น แฟลชจะยิงออกมาในช่วงที่ม่านสองเริ่มปิดแล้ว นั่นหมายความว่าภาพจะไม่ได้รับแสงแฟลชทั่วกันทั้งภาพ
แล้วระบบHigh speed sync ทำงานอย่างไร
หลักการของhigh speed sync ก็คือ การสั่งให้แฟลชปล่อยแสงออกมาในลักษณะไฟต่อเนื่องในแบบของpulseที่มีความถี่50KHz หรือ 50,000 ครั้งต่อวินาที คือ ในเวลา1วินาที แฟลชจะส่งแสงกระพริบต่อเนื่องกัน50,000ครั้งนั่นเอง โดยแฟลชจะเริ่มปล่อยแสงออกมาในช่วงที่ม่านแรกจะขยับเปิดออก แล้วจะปล่อยไปจนกระทั่งม่านที่สองปิดสนิทแรกซึ่งนั่นก็หมายความว่า ยิ่งความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น เวลาที่ฟิล์มสัมผัสกับแสงแฟลชก็จะสั้นลงนั่นเอง หรือ ปริมาณแสงที่สัมผัสกับฟิล์มก็จะน้อยลง เช่น ที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 วินาที แฟลชจะกระพริบปล่อยแสงให้สัมผัสกับฟิล์ม 50ครั้ง แต่ที่ 1/500 วินาที แฟลชจะกระพริบแสงให้สัมผัสกับฟิล์มรวมกัน 100ครั้ง เราจึงพบว่ายิ่งใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น ค่าGNก็จะยิ่งลดลง ซึ่งหากมีคู่มือแฟลชก็ควรที่จะได้ศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีว่าจะใช้แฟลชได้ระยะทางไกลแค่ไหน ณ ความเร็วชัตเตอร์ที่เรากำลังใช้อยู่
อ่านกันเต็มๆที่ http://web.canon.jp/Imaging/flashwor…ogy/index.html
จบไป 1 เรื่องกับ ระบบ E-TTL ต่อไปที่ผมสงสัยคือ ตาแมว?? คืออะไร ทำไม เอาไว้บทความต่อไปนะครับ