คุณสมบัติของนักออกแบบที่ดี
by admin on ก.ค..28, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ
การที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีและประสบความสำเร็จนั้นไม่ใชเรื่องยาก แต่มันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นโดยส่วนมากแล้ว 99% นั้นอยู่ที่ตัวของคุณเอง เริ่มจากที่ตัวคุณเอง และในตัวตัวคุณนั้นต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานของนักออกแบบที่ดีด้วย เพื่อช่วยในการเริ่มต้นและปฎิบัติให้ถูกต้องตามที่สังคมยอมรับได้ ซึ่งมันจะมีอะไรบ้างนั้นลองมาดูกันครับ
คุณสมบัติของนักออกแบบ ในการเป็นนักออกแบบที่ดี จะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของนักออกแบบมีหลายประการ ซึ่งพอจะจำแนกออกได้ดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยของนักออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ถ้าอันตัวคุณนั้นขาดสมองและความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ไม่เคยสร้าง ไม่เคยคิด หรือเอาแต่ลอก copy ดัดแปลงของคนอื่นเค้าโดยไม่ใช้เวลาในการคิดสิ่งใหม่ๆ ซะบ้าง คุณก็ไม่สามารถเรียกหรืองว่าให้คนอื่นเรียกคุณว่านักออกแบบได้เลยครับ เพระว่า นักออกแบบ ต้องเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอ
2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการออกแบบ
ทักษะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลองปฎิบัติ ทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในแขนงนั้นๆ ซึ่งข้อนี้ก็จะหมายความว่า ถ้าคุณคิดไอเดียอะไรใหม่ๆออกมาได้แต่คุณไม่ลงมือทำ หรือปฎิบัติ สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริง คุณก็จะไม่ได้ทักษะหรือความเข้าใจในกระบวนการทำงานนั้นๆเลย ยกตัวอย่างเช่น คุณทะนงตัวว่าคุณใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทุกอย่าง คุณเลยไม่ฝึกใช้งานมันบ่อยๆ ให้เกิดความชำนาญ แต่อีกคนหนึ่งฝึกใช้ทุกวันจนมีความชำนาญอย่างสูง เมื่อถึงเวลาลงมือปฎิบัติจริง ในระยะเวลาที่กำหนด คุณทำเสร็จเหมือนกันแต่ใช้เวลาในการปฎิบัติไป 2 ชั่วโมง ในขณะที่อีกคนนั้นใช้เวลาแค่ 30 นาทีเท่านั้นเอง สิ่งนี้เรียกว่า ทักษะ และมันจะเห็นผลจริงในการทำงาน ต่อให้คุณออกแบบมาดีเลิศแค่ไหนแต่สิ่งนั้นไม่สามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริงๆได้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะใช้เวลามากเกินไป ในขณะที่นักออกแบบไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว ตลอดเวลามีคนคิดสิ่งใหม่ออกมาได้เสมอและก้าวหน้าคุณเสมอ ฉะนั้นหมั่นฝึกสนทักษะไว้ให้ชำนาญ
3. เป็นผู้ที่รู้จักสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งมีทั้งสภาพทางธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
นี่คือคุณสมบัติเริ่มต้นของนักออกแบบ คือเป็นผู้ช่างสังเกตุ การเป็นผู้ช่างสังเกตุนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆ จากสิ่งที่เราสังเกตุเห็นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะเล็กน้อยเพียงใดแต่มันก็ทำให้เกิดความคิดที่ยิ่งใหญ่ ถ้ารู้จักคิด รู้จักสังเกตุ รู้จักพิจารณา และพัฒนาตัวเอง อันนี้ยกตัวอย่างได้ง่าย คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถ้าวันนั้นเค้าไม่สังเกตุผลแอบเปิ้ลที่หล่นลงมาจากต้นไม้ เราก็คงอาจจะมารู้จักเรื่องของแรงโน้มถ่วงของโลกในอีก 500 ปีข้างหน้าก็ได้ เพระความช่างสังเกตุ ช่างตั้งคำถามและต้องการหาคำตอบของเค้า มนุษย์บนโลกจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุดของกฏของแรงโน้มถ่วง หรือ กฏของนิวตัน ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดหลายๆแบบต่อๆ กันมาจนปัจจุบันนี้
4. เป็นผู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของงานออกแบบสร้างสรรค์ทุกสาขาอยู่เสมอ
ทำไมถึงต้องรอบรู้ในทุกๆเรื่อง ทุกสาขาด้วย เพราะว่านักออกแบบที่ดีนั้นควรจะรอบรู้ในทุกแขนงวิชาเพื่อนำความรู้นั้นมาช่วยในการพัฒนาและออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์ใดๆก็ตาม เช่น เมื่อเราต้องการจะออกแบบ เก้าอิ้สำหรับคนพิการทางเท้า เราก็ต้องศึกษาหาความรู้ว่า ทำอย่างไงถึงจะออกแบบให้คนพิการทางเท้านั้นได้สามารถใช้ สิ่งที่เราคิดออกแบบมานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่ เรื่องของกายวิภาคศาสตร์ เรื่องของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องของวัสดุที่จะนำมาใช้ แม้กระทั่งเรื่องของจิตใจของผู้พิการนั้นเอง เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลทั้งหมดนั้นมาประมวลหาความพอดี ความเหมาะสม และลงมือปฎิบัติให้เกิดผลที่น่าพอใจ ทั้งต่อเรา และผู้ใช้ให้มากที่สุดนั้นเอง
5. เป็นผู้ที่มีความสนใจศึกษาความเชื่อ และผลงานที่ออกแบบตามความเชื่อในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าต่อไปในปัจจุบันและอนาคต
เรื่องราวในอดีตนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของล้าสมัย ทุกอย่างล้วนมีความลงตัวและดีที่สุดในยุคสมัยนั้นๆ เพียงแต่เทคโนโลยี่ทางวัตถุนั้นอาจจะยังเทียบกับสมัยนี้ไมได้ เน้นว่าเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่ไอเดียและความคิดนั้นเรียกได้ว่าจะ 100 ปี หรือ 1000 ที่แล้ว มนุษย์ก็มีความคิดใหม่ๆ มาเสมอ ฉะนั้นการที่เราจะศึกษาแนวความคิดของการออกแบบในยุคสมัยต่างๆ นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการทำความเข้าใจในจุดประสงค์และสามารถนำความคิดนั้นมาพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เช่น ในยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นเครื่องทุนแรง ในการล่าสัตว์หรืออาวุธนั้นเอง จากไม้แหลมที่ไว้แทงล่าสัตว์ ก็กลายมาเป็นหิน และหินนั้นก็มีหลายชนิดจนกระทั่งค้นพบหินที่มีความเหมาะสมแข็งและวิธีทำให้ได้รูปทรงตามต้องการ จนมาถึงยุคของเหล็กและทองแดงและจนปัจจุบัน ตามข้อความนี้ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกยุคนั้นคิดอาวุธได้ดีเสมอ เมื่อมีการค้นพบวัสดุใหม่ๆ และนำมาใช้การสร้างและปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะศึกษาจากสิ่งของยุคเก่าและอย่าดูถูกของที่ล้าสมัยไปแล้วเพระว่าช่วงหนึ่ง มันคือสิ่งที่ทันสมัยเหมือนกัน
6. เป็นผู้ที่เข้าใจสภาพแวดล้อมของสังคม และความต้องการของประชาชน เพื่อให้การออกแบบสอดคล้องกับความต้องการ
สังคม เป็นสิ่งที่อยู่กับนักออกแบบเสมอๆ สังคมคือกลุ่มที่มนุษย์นั้นรวมตัวกันอยู่และใช้วิถีชีวิตร่วมกัน เราก็คือส่วนหนึ่งในสังคมที่เราอยู่ เมื่อเราต้องการ สร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเราก็ต้องมองสังคมควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เพราะว่าสิ่งที่เราคิดนั้น เมื่อมันออกมาเป็นผลงานแล้วสังคมไม่ให้การยอมรับหรือว่าไม่ใช้งานมันแล้วละก็ มันก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ฉะนั้นนักออกแบบที่ดีต้องใช้ชีวิตและอยู่ในสังคมนั้นๆ เข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แล้วนำสิ่งที่ต้องการพัฒนามาปรับปรุง สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ที่สังคมนั้นๆ ต้องการ จึงจะทำให้ผลงานนั้นๆ มีคุณค่าและได้รับการยอมรับ จึงจะเรียกว่านักออกแบบ
7. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจงานออกแบบแต่ละชนิด เพื่อให้การออกแบบตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์ของงานออกแบบนั้น ๆ เช่น การออกแบบโฆษณามีจุดประสงค์ในการจูงใจเป็นต้น
ในศาสตร์ของการออกแบบนั้น เราจะออกแบบสิ่งๆใด เราต้องเข้าใจในกระบวนการของสิ่งที่ราต้องการจะให้เกิดผลตามที่เราคาดหวังไว้ ฉะนั้นเราต้องคิดให้เป็นกระบวนการตั้งแต่ ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร ทำแล้วจะใช้ได้จริงไหม ทำแล้วจะประสบผลสำเร็จไหมแบบนี้เป็นต้น จุดเล็กๆ เหตุผลเล็กๆ ของความต้องการของผู้อื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของเราถ้าเราสามารถทำออกมาได้ตามความต้องการของคนคนนั้น
นี่คือแนวคิดและวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบที่ดี เราควรจะคิด จะทำและสร้างสรรค์โดยมีพื้นฐานในการทำงานและวิธีปฎิบัติให้ได้อย่างน้อยก็ตามนี้
ในโอกาสนี้ก็ขอยกคุณสมบัติของนักออกแบบที่ดี จาก อาจารย์ประสม รังสิโรจน ผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังและเป็นคณบดีคนแรกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบัง มาไว้ให้นักศึกษาได้อ่านและนำไปใช้
1. มีหิริโอตตัปปะ (มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้าและลับหลัง)
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่และมีวินัย
4. มีมนุษยสัมพันธ์ และบุคลิกภาพดี
5. รักงานและมีความคิดในการสร้างสรรค์
6. เป็นผู้นำที่ดีและจัดการดี
7. ตรงต่อเวลา
8. รับฟังคำวิพากษ์และวิจารณ์งาน
9. มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ผู้เขียน จานหนุ่ม
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.architectspace.net
http://th.wikipedia.org/
http://www.rbru.ac.th/