ยุทธพงษ์ สืบภักดี : ครูหนุ่ม

บทสรุป เมื่อได้เป็นข้าราชการ ตอนที่ 3 (จบ)

by on เม.ย..06, 2011, under ครูหมีขี้บ่น

 

บทสรุป เมื่อได้เป็นข้าราชการ ตอนที่ 3 (จบ)

          เว้นว่างไปนานเลยสำหรับบทความตอนที่ 3 ซึ่งจะเป็นบทสรุปในเป้าหมายในชีวิตของผมในการที่จะเป็น “ข้าราชการ” ในบทความที่แล้วผมได้เล่าถึงแรงบันดาลใจและเหตุผลของการที่ต้องการจะเป็น “ข้าราชการ” ให้ได้และแนวทางในการทำข้อสอบ หรือที่เรียกว่าเกร็งข้อสอบให้สอบติด

          ก่อนจะเล่าต่อไปก็ต้องเกรินถึงความรู้ความสามารถของตัวเองก่อนเพื่อที่คนอ่านจะได้เกิดแรงบันดาลใจ….เพราะอะไรเหรอครับ นั้นเพราะว่า อันตัวกระผมนั้นไม่ใช่คนที่เรียนเก่ง คืออยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางแย่ เรียนจบตอน ปวช. มาแบบเส้นยาแดงผ่าแปด คือ 2 หน่อยๆแค่นั้นเอง มาดีขึ้นตอน ปวส. หน่อยเพราะเริ่มตั้งใจเรียนนิดๆ และจบ ป.ตรีมาด้วยเกรด ราวๆ 2.9 เกือบ 3 ซึ่งก็ถือว่า ปานกลางสำหรับคนที่เรียน “ราชภัฎ” เพราะน้อยกว่านี้ บริษัท ห้าง ร้านก็แทบจะไม่รับทำงานแล้ว แต่ที่พูดมานี้ไม่มีผลต่อการสอบแต่อย่างใดมีผลตอนสัมภาษณ์งานแค่นั้นเองที่เค้าจะมองมาที่กระดาษแผ่นนี้ด้วย ฉะนั้นการทำให้ตัวเลขเหล้านี้มันสวยงามก็เป็นเรื่องสำคัญครับ จงจำไว้ให้ดีอย่ามองว่ามันเรื่องเล็ก

          บทความที่แล้วผมได้บอกไปแล้วว่า สอบอะไรไปบ้างติดอะไรไปบ้าง ไม่ติดอะไรบ้าง ซึ่งครั้งนี้ก็จะมาบอกว่าทำไมถึงติดและไม่ติด ในการสอบครั้งแรกของชีวิต (เพราะตั้งแต่ อนุบาลยัน ปวส. ผมได้โควต้ามาตลอดเลยไม่เคยสอบสักครั้งเดียว) สอบครั้งแรกนั้นคือการสอบ เอ็นสะทราน เข้ามหาลัย ซึ่งผมอยู่ในช่วงชีวิตของการสอบแบบระบบใหม่และเก่าพอดี ระบบเก่าคือ สอบตรงวัดไปเลยครั้งเดียวติดไม่ติด เก่งไม่เก่งวัดกันไปเลย ซึ่งแน่นอนครับ ผมสอบไม่ติดในครั้งแรกเลย ซึ่งทำให้ผมเคว้งพอตัวเลยที่เดียวเพราะว่าไม่มีที่เรียนต่อ เลยต้องมาเรียนต่อ ปวส เป็นการแก้ขัดไปก่อน 1 ปี ปีต่อมาใช้ระบบใหม่คือการสอบแบบสำรวจตัวเอง คือสามารถรู้ว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถขนาดไหน ทำคะแนนได้เท่าไร ถ้าเลือกคณะนี้มีสิทธิ์จะติดไหมจากคะแนนที่ตัวเองทำได้ ปีนึงสอบ 2 ครั้ง แล้วเอาคะแนนที่ดีที่สุดมารวมๆ บวกๆกันเพื่อไปวัดกันเข้าคณะที่ตัวเองชอบ ซึ่งเมื่อผมรวมคะแนนแล้วมีสิทธิ์เข้าที่ ลาดกระบัง คณะนิเทศศิลป์แบบฉิวเฉียด คือ ดูจากคะแนนขึ้นต่ำของปีที่ผ่านมา ซึ่งคือ 240 คะแนน แต่ผมรวมแล้วผมได้ 250 คะแนนซึ่งก็ถ้าว่าผ่าน แต่เมื่อเลือกคณะไปแล้ว แล้วประกาศผลออกมาปรากฏว่า คะแนนขั้นต่ำดันพุ่งขึ้นไปถึง 280 คะแนนในปีนั้น ทำให้ผมซิ๋วไปอีก 1 ปี และกำลังจะเรียนจบ ปวส แล้วคงต้องหมดหวังกับชีวิตมหาวิทยาลัยที่ฝันไว้ไปแล้วเลยเบนเข็มไปต่อ 2 ปีหลังเพื่อจบ ป.ตรีเลยจะดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลาในการศึกษา และไปสอบติดที่สวนดุสิต(รอบ 2 นะรอบแรกไม่ติดหรือที่เรียกว่ารอบรับหมดง่ะเหอๆๆ) แต่ยังดีที่น้องชายสามารถสอบเข้าไปได้ทำให้ผมดีใจไปด้วยที่สามารถเข้าเรียนที่ที่ผมอยากได้ T^T ผมก็เลยกลายเป็น “เด็กราชภัฏ” ไป คำนี้ทำไมถึงเน้นเพราะว่าสมัยนั้นผมโดนดูถูกและกดดันจากคนแถวบ้านที่สามารถเรียนต่อที่ดีๆกันได้เยอะ คำที่ผมเจ็บใจที่สุดเลยก็คือ มีผู้ใหญ่พ่อของเพื่อนคนหนึ่งที่ลูกเค้าเข้ามหาลัยของรัฐได้ถามผมเมื่อผมไปที่บ้านของเค้าว่า “เรียนต่อที่ไหน” ผมตอบไปว่า “ราชภัฎสวนดุสิตครับ” เค้าทำหน้าตาเย้ยๆว่า “อ้อ ราชภัฎเหรอ” คำๆนี้ทำให้ผมมีเป้าหมายขึ้นมาในชีวิตทันที นั้นคือ “ตูจะยิ่งใหญ่ให้ดู ตูจะทำให้ดูว่าเด็กราชภัฏก็ประสบความสำเร็จในชีวิตได้”….

 

          หลังเรียนจบและประสบความสำเร็จในสายอาชีพของผมตาที่ผมตั้งใจไว้ เด็กมหาลัยดังๆทั้งหลายต้องมายกมือไหว้และเป็นลูกน้อง ลูกจ้างในสายอาชีพผมและเงินเดือนน้อยกว่าผมเยอะ ผมก็ถือว่าผมผ่านเป้าหมายชีวิตไปได้อีก 1 เรื่อง แม้มันจะเป็นเรื่องปัญญาอ่อนของผมจริงๆ เค้าอาจจะไม่สนใจเรื่องสถาบันกันก็ได้ แต่ในชีวิตจริงเรื่องสถาบันก้ยังคงหนีไม่พันในชีวิตจริงอยู่ดี หรือใครจะเถียงก็ว่ามา….ข้ามเรื่องนี้ไป เพราะว่าบางส่วนผมได้เล่าแฝงไปแล้วในตอนที่ 2 ….

          กลับเข้าเรื่องหลังจากออกทะเลไปนาน…ในการเตรียมตัวสอบเพื่อเป็น “ข้าราชการ” นั้น สิ่งที่มีปัญหามากที่สุดของผมเลยคือ วุฒิการศึกษา เพระว่า วุฒิการศึกษาของผมนั้น เขียนไว้ว่าจบ ศิลปศาสตร์บัญฑิต (ศศ.บ.) วิชาเอก ศิลปกรรม นั้นทำให้ตัวเลือกในการสอบ “ข้าราชการของผมนั้นมีทางให้ไปน้อยมาก ถึงแม้ว่าผมจะมีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างมากก็จริง (ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเรื่องคอมพิวเตอร์ผมเก่งกว่าคนที่จบเอกคอมมาบางคนอีกแทบทุกเรื่อง)แต่ก็เท่านั้นเพราะว่าผมไม่มีดีกรีในสาขาคอมพิวเตอร์เลย ในการสอบครั้งแรกทำให้ผมต้องสอบในสาขาของ “นักพัฒนาชุมชน” ซึ่งรับสมัครทุกเอกวิชาไม่ว่าจะจบอะไรมาก้สามารถลงสอบสาขานี้ได้ทุกเอก (น่าสงสารเอกนี้จริงๆ ที่มีคู่แข่งมากมายมหาศาล) ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ก ข ค (อ่านได้ในตอนที่ 1 ว่าคืออะไร) ในการสอบภาค ก. นั้นเป็นเรื่องของวิชาการล้วนๆ คือ คณิต สังคม ภาษาไทย และความรู้รอบตัว อันนี้เป้นด่านแรกที่ต้องเตรียมตัวในการสอบ เพราะว่า ข้อสอบค่อนข้างยาก มีเรื่องของการคำนวนและการวิเคาระห์ข้อสอบเยอะมากๆ หนังสือที่แนะนำคือ พวกหนังสือติวทั้งหลายแบบรวมๆ โดยแนวข้อสอบนั้น จะไม่หนีจากหนังสือติวพวกนี้มาก เพราะว่า เกนณ์การวัดผลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เปลี่ยนคือข้อสอบแค่นั้นเอง ฉะนั้นใน ภาค ก. นี้ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจในแนวการวัดผลของแต่ละวิชา และวิธีคิดวิธีทำแล้ว คุณแทบจะไม่ต้องอ่านหนังสือเลยเพราะว่า ข้อสอบมันก็จะออกหลักเหมือนๆเดิม เช่น คณิต ก็จะออกพวก ตรรกศาสตร์ ความน่าจะเป็น การอ่านแผนภูมิ และอะไรที่ไม่ยากเท่าไรถ้าเข้าใจมันแล้ว (อ่านได้ใน internet เยอะมาก) ต่อมาที่ ภาษาไทย วิชานี้ผมว่ายากสุดเพราะว่าไม่ว่าจะการสอบอะไรที่ผมได้เคยสอบมาวิชานี้ ยากมากๆ หรืออาจจะเป็นเพราะผมไม่ค่อยถนัดก็ได้ แนวข้อสอบวิชานี้คือการอ่านแล้ววิเคาระห์ หลักภาษาไทย การเลือกใช้รูปประโยคในการเชื่อมต่อ คำลักษณะต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ล้วนผ่านมาแล้วทั้งนั้นในชีวิตการเรียนและการสอบเนื้อหาไม่ลึกมาแต่ค่อนข้างซับซ้อน คนออกข้อสอบภาษาไทยนั้นจริงจังเสมอเลยกับวิชานี้ จริงๆนะ ซึ่งแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับวิชาภาษาไทยนั้นก็ไม่ยาก พยายามอ่านและทำความเข้าใจในหลักต่างๆ ก็พอแล้วไปลุยในข้อสอบเลย ส่วนที่เหลือ สังคมจะเป้นเรื่องที่เราไม่คาดคิดโดยส่วนมากเป้นเรื่องของสิ่งรอบๆตัวเรา ข่าวสารปัจจุบัน การตัดสินใจในเหตุการณ์ กรณีต่างๆ ที่ผมเจอมา เช่น ถามว่า ตึกที่สร้างแทนตึกเวอร์เทิส ที่ถล่มไปเมื่อ 11 ก.ย. ชื่อตึกนั้นคือออะไร……….(ผมตอบไม่ได้ครับ อิ่งไปเลยตอนนั้นกับข้อสอบนี้)…..นี่คือแนวข้อสอบ ซึ่งผมย้ำอีกรอบว่าให้ทำความเข้าใจในสิ่งที่เค้าต้องการจะทดสอบและทำความเข้าใจมันให้ได้แล้วจะสามารถทำข้อสอบได้อย่างแน่นอน ซึ่งในครั้งแรกนั้นผมไปสอบก็ติดเลย ผ่านภาค ก. มาแบบสบายๆ ในครั้งแรก และครั้งที่ 2 ก็สอบติดอีกนี้คงพอจะยืนยันได้ว่าที่ผมเกร็งข้อสอบไปและแนวความคิดของผมนั้นพอจะใช้ได้จริง……

          ที่นี่ก้มาถึงภาค ข. ซึ่งภาคนี้ล่ะครับที่ค่อนข้างเอาเรื่อง อ้อ ขอแทรกหน่อยว่าการที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนั้น แยกการสอบออกเป็น ภาคๆนี้ก้มีข้อดีอยู่ตรงนี้ล่ะ คือทำให้เรามีเวลาในการเตรียมตัวอ่านหนังสือเป็นช่วงๆ ไม่ต้องอ่านพร้อมกันมากมายจนเกินไป แต่ข้อเสียคือ ทำให้คนที่ไม่ผ่านการสอบภาค ก. นั้นต้องรอสอบใหม่ในอีก 2 ปีเลยซึ่งหมายถึงในระยะเวลา 2 ปีนี้คุณไม่มีสิทธิ์สอบใดๆของการสอบที่ต้องใช้ผลของการสอบผ่านภาค ก. เลยก็ค่อนข้างแย่สำหรับคนที่สอบไม่ติดในภาค ก. เยอะเลยเพราะว่าสอบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไมได้เลย ต้องไปหาสอบอย่างอื่นแทน ในภาค ข. นี้เป็นเรื่องของ สายอาชีพที่คุณต้องการจะเป็นหรือจะสอบ ซึ่งก็จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ 1.เรื่องของการปกครองท้องถิ่นในระดับที่คุณต้องการไปสอบ เช่น ระดับ อบจ เทศบาล อบต ระบบหนังสือราชการ หรือที่เรียกว่าระเบียบงานสารบรรณ กฏหมายข้องบังคับของ สภา จำนวนผู้แทน ระเบียบ อำนาจต่างๆ เป็นต้น อันนี้ผมได้มาจากการที่ได้เข้าไปทำงานในเทศบาลเกือบ 5 ปี ทำให้ซึมซับได้ค่อนข้างเยอะเลยช่วยให้อ่านหนงสือน้อยลง แต่ถ้าไม่ได้ทำงานอยู่ในระบบนี้ต้องอ่านและทำความเข้าใจค่อนข้างเยอะมากเลยครับ ฉะนั้นตั้งใจอ่านให้ดีมีแต่เรื่องที่ต้องจำเยอะไปหมด ออกข้อสอบแทบจะทุกอย่างเลย ตั้งแต่ อบต มีสภากี่คน ทำอย่างไงถึงจะจัดตั้งเป้นเทศบาลได้ ใครเป้นผู้อำนาจสูงสุด ต้องเลือกตั้งภายในกี่วันหลังหมดวาระ ใครมีอำนาจตรวจสอบสภา ใคร…..โน่นนั้นนี้ เยอะไปหมดเลยครับ……. 2. เรื่องของสายอาชีพที่ต้องการทำงานอันนี้ก็เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสายอาชีพที่คุณต้องรู้โดยตรง เช่นจะไปเป็น นักพัฒนาชุมชนก็ต้องรู้เกี่ยวกับการหลักการพัฒนาชุมชนต่างๆ แก้ปัญหาอย่างไร ต้องใช้กฏหมายใด โดยเค้าจะออกมาตั้งแต่ อำนาจหน้าที่ จนถึงปัญหาให้เราแก้อย่างถูกวิธี หรือถ้าไปสอบครู ก็ต้องรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษาอีก เนื้อหาเยอะมากครับพยายามอ่านและจำข้อสำคัญๆไปให้ดีอันนี้ไม่มีหลักให้จำแต่ต้องจำให้ได้และเข้าใจทั้งหมด ส่วนสุดท้ายคือ 3. เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับบ้านเมือง อันนี้จะออกไม่เยอะ ราวๆ 10 ข้อ เป้นเรื่องของข่าวสาร ณ ปัจจุบัน ฉะนั้นควรอ่านหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ดูข่าวมากๆในช่วงนั้นๆ

          จะเห็นว่าภาค ข. นี้เอาเรื่องกว่าภาค ก อ่านหนังสือหนักมากต้องใช้ความพยายามในการจำให้เยอะๆ โดยแนวข้อสอบจะแบ่งออกเป็นจาก 100 ข้อ คือ 30 ข้อแรกคือเรื่องของการปกครองท้องถิ่น 30 ข้อต่อมาคือ ระเบียบสารบรรณ 30 ข้อต่อมาคือสาขาอาชีพ (ถ้าเป้นเรื่องการศึกษาอาจจะกลายเป็น 40 ข้อแทนและระเบียบสารบรรณจะลดลงไปเหลือ 20) ส่วน 10 ข้อสุดท้ายคือความรุ้ทั่วไปในการทันเหตุบ้านการเมืองครับ การอ่านหนังสือที่ดีที่สุดของผมคือ ตอนตื่นนอนและกำลังใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำผมจะนั่งอ่านหนังสือค่อนข้างไม่นานวันละ ครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมงในช่วงเวลาเข้าห้องน้ำ หรือตื่นนอนตอนดื่มกาแฟเพระว่าถ้าเราไปฝืนอ่านในเวลาอื่น นอกจากนี้จะทำให้สมองเครียดและจำไมได้ เช่น เวลาว่างจากการทำงาน ก่อนนอน หรือเวลาที่ตัวเองยังมีงานที่ยังทำไม่เสร็จ ทำให้จำอะไรไม่ค่อยได้เลย และส่วนที่ดีที่สุดในการอ่านคือ ก่อนสอบ 1-2 วันเพราะว่าช่วงนั้นสมองจะมีสมาธิมากในการตั้งใจและเตรียมตัวพร้อมในการไปสอบทำให้มีสมาธิดี มุ่งไปที่การทำข้อสอบอย่างเดียว แม้กระทั่งก่อนเข้าห้องสอบก็อ่านทวนสิ่งที่เราเกร็งข้อสอบมาจำได้ดีเลย

          เมื่อผ่านการสอบทั้ง 2 ภาคมาแล้วก้มาถึงภาค สุดท้าย คือการสัมภาษณ์ หรือ ภาค ค. ในการสัมภาษณ์นั้นผมได้เขียนไว้ในบล็อกนี้แล้วว่า เป้นอย่างไงก็ขอสรุปสั้นๆว่า การสัมภาษณ์โดยส่วนมากที่ต้องเตรียมตัวคือ ชื่อของ ผู้ว่า ชื่อของเจ้านายแต่ละคน ในสถานที่ที่เราต้องไปสอบ ผมเห็นคนอื่นโดนถามแต่ผมไม่โดน เพราะว่าผมจะใช้เวลาและเทคนิคในการพูดคุยกับคณะกรรมการในการชวนคุยและค่อยๆเล่าเรื่องให้เค้าเห็นพ้องกับเราไปเลย โดยที่เค้าจะแทรกคำถามขึ้นมาเองเมื่อมีจังหวะ ในการเตรียมตัวนั้นให้ลองเขียนข้อมูลของตัวเองและคำถามที่น่าจะโดนถามกับตัวเราไว้ในกระดาษแล้วลองซ้อมการสัมภาษณ์ไป โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนตามนี้ คือในช่วงแรกเค้าจะให้เราแนะนำตัวเอง ตรงนี้ล่ะสำคัญ คือเมื่อเค้าเปิดโอกาศให้เราแนะนำตัวเองแล้ว เรานั้นล่ะที่จะต้องเล่าและแนะนำตัวเองไปให้หมดข้อสงสัยของคณะกรรมการ เช่น ชื่ออะไร อายุเท่าไร เรียนจบที่ไหนมา ทำงานอยู่ที่ไหน เป็นคนจังหวัดอะไร เคยทำงานอะไรมาบ้าง ความสามารถพิเศษที่เรามี ค่อยๆเล่าไปไม่ต้องรีบให้เค้าฟังไปเรื่อยๆ มองหน้าคณะกรรมการไปด้วยแต่เล่าแบบจำมา เล่าแบบธรรมชาติๆ พอเราแนะนำตัวเสร็จเค้ารู้จักพื้นฐานเราแล้ว (ถ้าในตอนนี้เรามีแฟ้มผลงานไปด้วยเค้าจะเปิดแฟ้มเราดูไปด้วยฆ่าเวลาระหว่างีท่เราแนะนำตัวฉะนั้นดูด้วยว่าควรใช้เวลาให้เค้าดูเท่าไรแล้วเราก็เล่าไป เมื่อเราเงียบและหยุดเมื่อไรเค้าจะถามคำถามเราทันที)

          คำถามที่จะตามมาส่วนมากเลยคือ(ถ้าไม่ถามเรื่องชื่อของเจ้านายทั้งหลาย) “ทำไมถึงอยากเป็น………..(สาขาที่ไปสอบ)” อันนี้สำคัญมากๆ คำถามนี้ต้องตอบให้ดีไม่งั้นมีสิทธิ์ตกม้าตายเอาได้ง่ายๆ ควรจะหาข้อมูลของหน้าที่และแนวการทำงานมาอย่างรอบคอบ อยากเป็นเพราะอะไรต้องตอบแบบตามมาตรฐานและสวยงามจริงๆ เช่น สอบครู ผมตอบไปว่า “ผมอยากเป้นครูเพราะมันคือความตั้งใจของผมตั้งแต่ตอนเด็กๆ เมื่อโตขึ้นมาผมได้ลองไปทำงานหลายๆ อย่างเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตและการทำงาน และนำความรู้ความสามารถเล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับเยาวชนของชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และอาชีพนี้เป้นอาชีพที่มีเกรียติมาก มีคนเคารพนับถือและผมอยากทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองครับ” อย่างงี้เป้นต้นถึงแม้ว่ามันจะฟังดูเป็นแบบแผน แต่เราก็ต้องพูดไปด้วยหน้าตาและน้ำเสียงที่จริงใจที่สุด ซ้อมหลายๆครั้งที่หน้ากระจกครับ แต่ใช่ว่าคุณพูดไปแบบนั้นแล้วเค้าจะเชื่อคุณเลยนะ เค้าจะมีคำถามตามมานั้นคือ ช่วงทดสอบสติปัญญาและการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพนี้ ที่ผมโดนคือ “คิดอย่างไงกับปัญหาของการที่เด็กติดเกมแล้วเราจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร” เมื่อเจอปัญหาแบบนี้เราไม่มทางรู้ได้เลยว่าเค้าจะถามมาแบบไหนและเราต้องคิดและตอบให้ทันท่วงทีโดยการตอบคราวนี้นั้นผมตอบไปคิดไปด้วยว่าแก้อย่างไง ซึ่งผมเว้นชาวงการตอบปัญหาเล็กน้อยเพื่อรอดูว่าเค้าจะถามไรต่อไปห้ามพูดแทรกทันทีต้องเว้นช่วงนิดนึงสัก 2-3 วินาทีแล้วค่อยตอบแบบช้าๆ ชัดๆ มีหลักการและแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน โดยผมตอบไปว่า “ปัญหาของเด็กติดเกมเกิดจากการที่เด็กอยู่กับคอมพิวเตอร์มากเกินไปและขาดการดูแลเอาใจใส่ และการแนะนำที่ถูกต้องในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เด็กๆจะเข้าใจว่า คอมพิวเตอร์มีไว้เพื่อเล่นเกม กลายเป็นเครื่องเล่นเกมชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ผมจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวแก้ปัญหาโดยตรง โดยการสอนให้ใช้คอมพิวเตอร์ในการใช้งานด้านอื่นๆ เช่น การใช้โปรแกรมในการวาดรูป ระบายสี การใช้งานในการค้นคว้าข้อมูลในการทำรายงานหรือหาข้อมูลต่างๆ การให้การบ้านเด็กๆ โดยการให้คอมพิวเตอร์มีส่วนรวมในการใช้งานด้วย อย่างพิมพ์งานเอกสาร กับใส่ภาพ การตกแต่งเอกสาร การส่งการบ้านทางคอมพิวเตอร์ด้วยช่องทางต่างๆ แล้วเด็กๆ จะเริ่มเข้าใจไปเองว่าคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เอาไว้เพื่อเล่นเกมอย่างเดียวแต่สามารถทำประโยชน์ได้หลายๆอย่าง นอกจากเล่นเกมและมีความสนุกในการค้นคว้าข้อมูลและการใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้น”…(ผมตอบแบบนี้จริงๆนะ)

          พูดไปคิดไปด้วยตรงนี้ล่ะที่เค้าต้องการทดสอบเราฉะนั้นจงเตรียมตัวให้ดี และอีกคำถามที่เค้าถามผม คือเค้าเกรินมาเรื่องการทำงานในส่วนขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับนักการเมือง อันนี้เค้าพูดเองแล้วก็ตั้งคำถามมาให้แก้อีก 1 คำถามคือ “ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติงานและมีประชาชนมาใช้บริการของเราอยู่ 5 คน แล้วท่านผู้บริหารมาบอกว่าให้ทำให้คนรู้จักของเค้าก่อนคือคนที่ 5 เราจะทำอย่างไง” อันนี้เป้นคำถามที่ตอบได้หลายอย่างมากตอนนั้นบอกตรงๆ คิดไม่ออกว่า “ควรจะตอบอย่างไรดี” จะตอบว่าลัดคิวทำให้ก่อนเลยเพื่อเอาใจเจ้านาย หรือว่าจะตอบว่าไม่ลัดคิวให้ให้ต่อคิวตามปกติดี ซึ่งคณะกรรมการที่มาสัมภาษณ์นั้นล้วนแล้วแต่ไม่เป็น ปลัดก็ ผอ กองต่างๆ หรือแม้กระทั่งนักการเมืองเอง ระหว่างที่ยังนึกไม่ออกผมถามกลับไปที่คณะกรรมการเพื่อดูท่าทีว่าเค้าต้องการให้เราตอบอย่างไงด้วยคำถามที่ว่า “ไม่ทราบว่ากรณีนี้การที่มาบอกผมนี้บอกแบบกระซิบหรือว่าบอกแบบได้ยินกันทั่วทุกคน” คณะกรรมการทท่าคิดและเปิดโอกาสให้เรามีเวลาคิดอีกชั่วเวลาหนึ่งก่อนที่เค้าจะบอกแบบมีเงื่องำว่า “ทั้งสองแบบนั้นล่ะ จำอย่างไง” ผมเลยตัดสินใจตอบไปแบบกลางๆ คือเอาใจทั้งคู่ด้วยการตอบว่า “ผมจะทำตามคำสั่งของท่านผู้บริหารโดยการขอเอกสารและเรื่องของคนที่มาติดต่อของท่านไว้โดยรับปากว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุดโดยที่ผมจะกลับมาทำงานต่อของคนที่ใช้บริการคนนที่ 1-4 ต่อไปโดยไม่ลัดคิวแต่จะรีบทำให้เร็วท่สุดเพื่อที่จะได้ทำให้เสร็จเร็วๆ” คำตอบนี้ดูท่าจะเป้นที่น่าพอใจของคณะกรรมการมาก เค้าออกปากชมและรู้ว่าเราสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการสัมภาษณ์ในครั้งนี้……….

          หลังจากผมใช้เวลาในการสอบนี้มาถึง 5 ปีเต็มตอนนี้ผมสามารถได้บรรจุเป็น “ข้าราชการ” ตามที่ผมตั้งใจไว้ได้แล้ว เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ที่ผ่านมานี้เองและนำประสบการณ์ของผมมาเล่าให้ทุกคนฟังเผื่อจะมีประโยชน์ต่อคนที่เตรียมตัวสอบอยู่หรือคนที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเดินทางสายไหนดีในชีวิต ในโอกาสต่อไป ผมอยากจะมาเล่าถึง ความตั้งใจในการเป็น “ครู” ของผมว่าทำไมถึงต้องตั้งใจขนาดนี้และผมมีเป้าหมายอย่างไรในการเป็นครู ผมมีอุดมการณ์อย่างไร ผมไม่ได้อยากเป็นครูเพราะว่ามันคือ อาชีพ “ข้าราชการ” แต่ผมมีความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างใน สายอาชีพครูนี้ นั้นคือเป้าหมายต่อไปของผม ผมก็จะใช้ความพยายามในการไปให้ถึงเป้าหมายต่อไปของผมให้ได้….

          “ชีวิตต้องมีเป้าหมาย เมื่อมีเป้าหมายแล้วก็ต้องไปให้ถึง ทำให้ได้ใส่ความพยายามเข้าไปให้เต็มที่เมื่อมันสำริดผลแล้ว ความภูมิใจก็จะเกิดกับตัวเราทำให้มีจุดมุ่งหมาย ทำให้ชีวิตมีคุณค่า ทำให้มีกำลังใจในการทำงานต่อๆไป เมื่อถึงเป้าหมายแล้วใช่ว่าจะหมดเป้าหมายไป เราก็มีเป้าหมายใหม่ๆ ให้ไปถึงอยู่เสมอ เป้าหมายมีทั้งแบบระยะสั้น ระยะยาวแต่ทุกเป้าหมายล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความพยายามและตั้งใจอย่างเต็มที่ ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายๆ เป้าหมายคือสิ่งที่มีการเปลี่ยงแปลงทั้งในชีวิตเราและคนรอบตัว ประเทศชาติ เริ่มตั้งเป้าหมายตั้งแต่วันนี้แล้วตั้งใจกับการไปสู่เป้าหมายให้ได้…..”

ครูหนุ่ม…
6 เมษายน 2554

Comments are closed.

Looking for something?

Use the form below to search the site:

Still not finding what you're looking for? Drop a comment on a post or contact us so we can take care of it!

Visit our friends!

A few highly recommended friends...